ถาม: (ไม่ชัด) ?
ตอบ : พระวิสุทธิเทพ เทวดาผู้บริสุทธิ์ เทวดาเขาแบ่งออกเป็น ๓ ประเภทด้วยกัน มี สมมติเทพ คนยกขึ้นเหมือนอย่างกับเป็นเทวดา อย่างเช่น พระเจ้าแผ่นดิน พระเจ้าจักรพรรดิ อุปปัติเทพ บุคคลผู้เกิดเป็นเทวดาเองโดยกำเนิด อย่างเช่นว่า รุกขเทวดา ภุมมเทวดา อากาศเทวดา หรือพรหม แล้วก็วิสุทธิเทพ เทวดาผู้บริสุทธิ์ คือท่านที่อยู่ในนิพพาน ไม่ว่าจะเป็นพระอรหันต์ก็ดี พระปัจเจกพุทธเจ้าก็ดี พระพุทธเจ้าก็ดี ถ้าพระวิสุทธิ์เทพองค์นี้หลวงพ่อท่านสร้าง ท่านหมายเอาถึงว่าเป็นพระพุทธเจ้า
ถาม : เราบูชาโดยวางอยู่สูงกว่าพระพุทธเจ้าผิดไหม ?
ตอบ : ถ้าหากว่าวางอยู่สูงกว่าไม่ผิด แต่ว่าขณะเดียวกันถ้าคนสงสัยต้องตอบเขาให้ได้
ถาม : .........................................
ตอบ : แล้วชินบัญชรวันละ ๕๐๐ จบเกิดจากว่า มีอยู่ครั้งหนึ่งครูเป็นเส้นเลือดในสมองตีบ น็อกเข้าโรงพยาบาลไป ตอนที่แกน็อกไปน่ะ แกไปเจอหลวงพ่อโต วัดระฆัง หลวงพ่อโตถามว่า ต้องการอะไรจะให้ช่วยไหม ? ท่านก็ขอหลวงพ่อโตว่า ขอกลับไปเขียนเพชรพระอุมาให้จบก่อน โห...ครูแกเขียนเพชรพระอุมาโคตรมาราธอนเลย ๒๐ กว่าปีกว่าจะจบ ถ้าหากว่าช่วยให้กลับไปเขียนเพชรพระอุมาจบได้ คือหมายความว่าหายจากการป่วยครั้งนี้กลับไปเขียนหนังสือได้ จะท่องชินบัญชรถวายบูชาต่อหลวงพ่อโตวันละ ๕๐๐ จบ
คราวนี้ครูเป็นคนตั้งมั่นและจริงจังมาก พอออกจากโรงพยาบาลปุ๊บ แกตะบันวันละ ๕๐๐ จบจริง ๆ ทำถึงขนาดรู้ว่าขับรถถึงตรงไหนจะสวดได้กี่จบ เขาจำได้ขนาดนั้น แล้วปรากฎว่าผลของสมาธิที่ตั้งมั่นขนาดนั้นน่ะ ก็เลยกลายเป็นฤทธิ์เป็นอภิญญาไปโดยอธิบายไม่ถูก คือคนเราถ้ามีของเก่า ถ้ากำลังใจถึงของเก่าจะกลับมา ครูก็สามารถทำสิ่งต่าง ๆ ที่คนอื่นเขาทำไม่ค่อยได้ อย่างเช่นว่า เขาก่อไฟอยู่แล้วเกิดถ่านกระเด็นออกมา แกก็หยิบวางกลับเข้าไป ไม่เป็นอะไรนะ เหมือนกับเราหยิบก้อนหินธรรมดาก้อนหนึ่ง
คราวนี้สิ่งที่แกทำได้ มีอยู่ครั้งหนึ่ง บริษัทชื่อ การ์เดียน จะผลิตพวกกระจุกกันกระสุน เพื่อเอามาสำหรับติดตั้งรถยนต์หรือสำนักงาน เขามาทดลอง คือครูได้รับการไว้วางใจว่าเป็นผู้มีความสามารถพิเศษในการใช้อาวุธปืน เมื่อถึงเวลาบริษัทเขารู้เขาก็เลยมาให้ครูทดลอง เขาใช้ปืนสั้นทุกชนิดยิง ไม่สามารถทะลุกระจกนั้นได้ เอาเอ็ม ๑๖ ยิงไม่ทะลุ อันนี้ติดตั้งกับรถยนต์นะ พอเอ็ม ๑๖ ยิงปั๊บ ครูบอกว่าทำอย่างนั้นไม่ถูก ทำไม่ถูกเพราะว่าไปจ้อยิง อาวุธปืนมีขีปนวิถีของมัน ถ้าหากว่าหมุนไม่ได้ระยะของมัน แรงทะลุทะลวงจะได้ไม่เต็มที่ ครูเขาถอยออกมาประมาณ ๑๕ เมตร กราดออกไปนี่พรุนเลย กันได้แต่ปืนสั้น กันไรเฟิลจู่โจมไม่ได้ บริษัทฯ ไม่ยอม ขนกลับไป งวดหน้ามาใหม่ ขนกระจกเล็กการ์ดรุ่นใหม่มาหนา ๒ นิ้ว ไม่รู้จะไปติดรถยนต์อะไรได้ แต่มันจะเอาชนะครูให้ได้ แล้วก็แบกไรเฟิลทุกชนิดมาเลย ตั้งแต่ ๔๕๘ แม็กนั่มจนกระทั่งถึงเอ็ม ๑๖ พูดง่าย ๆ ว่าใหญ่สุดยันเล็กสุด เอามายิงให้กระจายไปเลย ยิงเท่าไหร่ยิงไม่เข้าจริง ๆ ขนาดไรเฟิลล้มช้าง .๔๕๘ แม็กนั่ม ยิงไปนี่ถ้าหากว่าช้างวิ่งเข้ามาก็ดูดกระแทกไปเลย แรงปะทะขนาดนั้น ยิงไม่เข้าจริง ๆ แค่แตกร้าวเท่านั้นเอง
เขาถามว่า พอใจไหม ? ทำได้ขนาดนี้ ครูบอกยังไม่พอใจ ขอลองอีกที แล้วแกก็เอา .๓๐๘ แม็กนั่มซึ่งมันเล็กมาก มันยังไม่เท่า ๓๘ นะ อย่าลืมมันแค่ ๓๐ นะ แกเป่าพ่วงเดียวแล้วยัดเข้ารังเพลิง ยิงทะลุฉุยเลย ตัวแทนบริษัทฯ ยืนปากอ้าตาค้างอยู่นั้นแหละ ครูเขาบอกว่า ยูใจเย็น ๆ take it easy คนไทยที่ทำได้แบบนี้มีน้อย (หัวเราะ) นั่นแหละ ผลของการสวดมนต์ขณะขับรถ อย่างคุณว่า อยากลองไหมล่ะ ?
ถ้าหากว่าเป็นกำลังของอภิญญา ไม่มีประโยชน์หรอก กันอย่างไรก็กันไม่ได้ แหม...เล่นเอาฝรั่งเสียมวยไปเลย ใหญ่สุดยิงไม่เข้า แต่เล็ก ๆ ยิงเข้า ปัจจุบันนี้คุณครูมีความสุขดี แต่ยังไม่มีอารมณ์จะเขียนหนังสือ พล็อตเรื่องดี ๆ อยู่เต็มสมอง เพียงแต่ว่าคล้าย ๆ อยู่ระหว่างพักฟื้น โหมพลังชีวิตมากเกินไป กว่าจะเขียนเพชรพระอุมาจบต้องใช้คำว่า ๒ ภาคนะ แต่ถ้าหากว่าอย่างนักอ่านต้องบอกว่า ๓ ภาค เพราะว่าภาคแรกเขาจะลงในหนังสือที่เขาอาศัยเรื่องเพชรพระอุมาล้วน ๆ แรก ๆ เขียนเป็นเล่มเล็ก ๆ พวกเราอาจจะทัน เล่มละบาท ๕๐ สตางค์ เล่มละหกสลึงนั่นน่ะ ใส่กระเป๋าเสื้อได้ เหมือนอย่างกับหนังสือเพลง
สมัยก่อน รุ่นนี้เคยเจอหรือเปล่า ? หนังสือเพลงเล่มเล็ก ๆ นั่นแหละ เขียนอย่างนั้นก่อนแล้วมันสนุก แกก็เลยร่วมกับนายทุนออกหนังสือชื่อนิวจักรวาล เอาเพชรพระอุมาเป็นเรื่องเอก แล้วก็มีเรื่องของคนอื่นด้วย ซึ่งคนอื่นบอกเจ๊งแหง ๆ แต่ปรากฎว่าขายดิบขายดี ประเภททำยอดขายติดอันดับ ต้องพิมพ์เป็นรายสัปดาห์ พอนายทุนเขาถอนตัวออกไป ก็ไปทำเดลิเมล์วันจันทร์ พอนายทุนเขาถอนตัวไปอีก ก็มาลงต่อภาค ๒ ในเดลินิวส์วันจันทร์ พอคุณแสง เหตระกูลถึงแก่กรรม คุณครูเลยต้องออกมา ออกหนังสือจักรวาลปืนเอง แล้วก็เขียนลงจักรวาลปืนเรื่อยมา กว่าจะจบคางเหลือง
ถาม : (ไม่ชัด)
ตอบ : แกแทรกอยู่ในนั้นหมดเลย เรื่องของธรรมะ เรื่องของการปฏิบัติทุกอย่างอยู่ในนั้น เรื่องอาวุธปืนในเพชรพระอุมาเป็นส่วนประกอบส่วนเดียวเท่านั้น เป็นเฟืองซี่เดียวในจักรกลของนาฬิกา นาฬิกาเรือนหนึ่งอาจมีจักรกลเยอะมาก เรื่องปืนในเพชรพระอุมาเป็นเฟืองซี่เดียว ที่พูดมาเพื่อจะบอกกับพวกเราว่า ถ้าอยากให้ได้ผลในการปฏิบัติ ต้องทำให้จริงจังอย่างครูเขา เรื่องของคาถาทุกอย่างต้องทำจริงจังและสม่ำเสมอ ทำ ๆ ทิ้ง ๆ ไม่ได้ เพราะว่าคาถาเป็นบาทของอภิญญา คือเบื้องต้นของอภิญญา คนจะทำอภิญญาได้ต้องมีความจริงสม่ำเสมอ ต้องไม่เบื่อไม่หน่าย ต้องทำจนกว่าจะเกิดผลคล่องตัว สามารถใช้งานได้อย่างใจปรารถนา ถ้าอย่างนั้นแล้วคุณจะหยุดก็ไม่มีใครว่า แต่ถ้ายังทำไม่ถึงขาดนั้นโอกาสที่จะเสื่อมจะพังมีอยู่
เพราะฉะนั้นให้ดูตัวอย่างเอาไว้ว่า คนที่ทำแล้วได้ผล เพราะว่าเขาทำจริงและสม่ำเสมอ คนเขียนหนังสือทีหนึ่งกว่าจะจบนี่ อ่านจนเหนื่อยตายกันเป็นราย ๆ เลยล่ะ เพราะว่าใช้เวลาเขียน ๒๐ กว่าปี (หัวเราะ) กินเนสบุ๊คลงอย่างไม่เป็นทางการว่า เป็นหนังสือที่ยาวที่สุดในโลก ยังไม่เป็นทางการนะ จะประกาศเป็นทางการเมื่อไหร่ยังไม่รู้
ถาม : เรื่องอุทิศส่วนกุศล จะอุทิศส่วนกุศลให้คนที่มีชีวิตอยู่ ?
ตอบ : ต้องให้เขาโมทนาด้วยจ้ะ ต้องบอกเขาโดยตรงเลย ถ้าไม่บอกเขาโดยตรงผลจะน้อยเต็มที มีเหมือนกันนะ มีอยู่รายหนึ่งไม่ทราบเหมือนกันว่า ตอนช่วงสงครามคอมมิวนิสต์เขาไปติดอยู่ที่ลาวหรือเขมรไม่รู้ จำไม่ได้ ญาติพี่น้องคิดว่าตายหมดแล้ว เขาเลยตั้งใจทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้ ปรากฎว่าหลังจากนั้นหลายปี เขาก็กลับมาบ้าน ญาติพี่น้องก็ตกใจ ไม่น่าจะรอดเลย กลับมาได้อย่างไร ? ปรากฎว่าพอเขาบอกว่าทำบุญไปให้วันนั้น เวลานั้น เขาบอกว่าแปลกมาก คนที่โดนขังอยู่ก็อด ๆ อยาก ๆ กินไม่อิ่ม เขาบอกวันนั้นอยู่ ๆ อิ่มบอกไม่ถูก อิ่มเฉย ๆ ไม่อยากกินอะไรเลย ก็เพิ่งมารู้ตอนนี้เอง ทางบ้านทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้
ถาม : ถ้าเราอุทิศส่วนกุศลไปให้คนที่เขาไม่ชอบเรา ศัตรูเราทำได้ไหม ?
ตอบ : ถ้าอย่างนั้นอยู่ในลักษณะแผ่เมตตา ถ้าอุทิศส่วนกุศลให้อย่างไร ? เขาก็ไม่โมทนาอยู่แล้วจ้ะ แผ่เมตตาตั้งใจนึกถึงเขาด้วยความหวังดีปรารถนาดี ขอให้เขาพ้นจากความทุกข์ ขอให้เขามีความสุข แต่ว่าแรก ๆ ถ้าอุทิศให้เขาลักษณะอย่างนั้น ตั้งใจแผ่เมตตาให้เขาลักษณะอย่างนั้น บางทีกำลังใจจะต้าน มันเป็นศัตรูเรา รู้สึกเป็นอย่างนั้น ตั้งใจแผ่เมตตาให้เขาลักษณะอย่างนั้น บางทีกำลังใจจะต้าน มันเป็นศัตรูเรา รู้สึกเป็นอย่างนั้น
ดังนั้นถ้าหากว่าอุทิศส่วนกุศลต้องหัดให้คนที่เรารักให้ชิน พอชินแล้วก็ให้คนที่เราไม่รักไม่เกลียด คือสรรพสัตว์ทั้งหลาย จนกระทั่งชินสบาย ก็ให้คนที่เราเกลียดน้อย พอชินสบายใจแล้ว ค่อยให้คนที่เราเกลียดมาก ไม่อย่างนั้นอยู่ ๆ ให้คนที่เราเกลียดมากเลย มันยันกลับมาเลยโทษใครไม่ได้ เพราะเรายังไม่ชินกับมัน
ถาม : แล้วเราจะทำอย่างไรให้ผลออกมาดีที่สุด ?
ตอบ : ถ้าหากว่ากำลังใจเป็นอัปปมัญญา คือว่าไม่เลือกที่รักมักที่ชังจริง ๆ เห็นทุกคนเป็นเพื่อนร่วมทุกข์เกิดแก่เจ็บตายจริง ๆ ถึงเราไม่เบียดเบียนเขา เขาก็ทุกข์อยู่แล้ว จิตใจมีแต่ความรัก ปรารถนาดีต่อเขา สงสารอยากให้เขาพ้นทุกข์ ถ้าสามารถทำได้อย่างนี้แล้ว ผลจะเกิดเร็วแล้วก็แรงด้วย ดีไม่ดีเขากลับมาดีกับเราไม่รู้ตัวหรอก ถ้าวันไหนเขาเซ็นโอนมรดกให้ ก็รีบรับไว้นะ
ถาม : (ไม่ชัด) เวลาสวดมนต์กำหนดเป็นตัวอักษรกลางหน้าผาก สวดไปสวดมาตึงมากจนปวด ?
ตอบ : ใครบอกให้กำหนดกลางหน้าผากวะ ...! บอกว่าให้นึกถึงตัวหนังสือขึ้นมาเป็นตัว ๆ เลย ไม่จำเป็นต้องกลางหน้าผาก ลักษณะนั้นเราไปเพ่งความรู้สึกอยู่จุดเดียว จะตึงมาก บางทีพาให้ปวดหัวไปเป็นวัน ๆ เลย ถ้าหากว่านึกเป็น มันอยู่ตรงไหนก็ได้ เอาไว้ในอกก็ได้ เอาไว้ในท้องก็ได้ อย่าไปนึกถึงกลางหน้าผาก ตรงจุดกึ่งกลางหน้าผากน่ะ เป็นจักระ คือแหล่งพลังงานที่ใหญ่มาก บางคนเขาเรียกว่ามังกรหลับ อย่าไปปลุกให้มันตื่น ปลุกให้ตื่นเมื่อไหร่ ? จะมีพลังงานมหาศาลบอกไม่ถูก
คราวนี้ของเราอยู่ ระหว่างเคาะประตูมัน บางทีจะเกิดอาการต่อต้านกับร่างกายขึ้นมา อย่าพยายามนึกถึงมันเป็นดี ถ้าเครียดมาก ๆ มันปวดมันตึงตรงนั้น ถ้าแก้ไม่ตกเอาถ่านไฟฉายมาก้อนหนึ่ง เอาตูดถ่านแปะหน้าผากตัวเองไว้ พักหนึ่งจะหาย เพราะว่าตอนที่ปวดเกิดจากไฟฟ้าสถิตในตัวของเรา สะสมในจุดนั้นมากเกินไป เอาถ่านไฟฉายมาแปะไว้หน่อย มันจะถ่ายเทเข้าถ่านจะหายเอง
ถาม : เวลาเรานึกถึงพระเป็นอุนุสติ เราจะกำหนดพระด้วยวิธีการต่าง ๆ กลายเป็นความเคยชิน แต่ปวดตลอด ?
ตอบ : ของเราเจตนาตั้งมั่นมากเกินไป ทำใจเบา ๆ สบาย ๆ นึกถึงท่านเห็นหรือไม่เห็นให้มั่นใจว่าอยู่ตรงบนั้นก็พอ อย่าไปจดจ่อมากเกินไป จดจ่อมากเกินไปเป็นการใช้สายตาเพ่ง แต่ว่าเป็นการเพ่งทั้ง ๆ ที่หลับตาอยู่ เป็นการกระทำที่ผิด ที่เรากำหนดภาพเป็นมโน คือห้วงนึกของเรา นึกถึงแบบเรานึกถึงบ้าน นึกถึงรถของเรา นึกถึงคนที่เรารักเรารู้จักอย่างนั้น ไม่ใช่ไปนึกเพ่งให้เห็น นึกเพ่งให้เห็นเป็นการใช้กำลังใจผิด ดีไม่ดีก็เป็นไมเกรนไปเลยก็มี
ถาม : ถ้าเราภาวนาไม่ได้ แล้วสวดมนต์ ?
ตอบ : ได้เลย สวดมนต์ก็บอกแล้วว่า ถ้าทำเป็นก็ไปนิพพานได้
ถาม : บทสวดเลือกเฉพาะบทได้ใช่ไหมครับ แต่ละบทให้ผลเหมือน ๆ กัน ?
ตอบ : ได้ อยู่ที่ใจเรา ถ้าใจเป็นสมาธิ อยากจะให้ผลเป็นอย่างไร ? ก็จะเป็นไปตามที่เราต้องการ เพราะถ้าถึงตรงจุดนั้นเรียก มโนมยา คือสำเร็จด้วยใจ คาถาหรือบทสวดเป็นแค่เครื่องโยงใจเท่านั้น พอโยงใจเป็นสมาธิแล้ว เราใช้สมาธิเป็นฌานฤทธิ์ คือฤทธิ์ที่เกิดจากฌานสมาบัติ กำหนดให้เป็นอย่างไร ? จะเป็นอย่างนั้นเอง
ถาม : ผมต้องเริ่มจากจุดไหนครับ?
ตอบ : อันดับแรก ศีลก่อน จำไว้ว่า ถ้าไม่มีศีลนี่เจ๊งเลย..! ไม่มีศีลเรา
จะไม่มีเครื่องคุ้มตัวเอง ต้องรักษาศีลให้ได้ อันดับแรกทำศีลให้บริสุทธิ์
ด้วยตัวเอง เมื่อทำได้เรียบร้อยแล้ว ก็อย่ายุยงให้คนอื่นเขาละเมิดในศีล
เมื่อทำได้ทั้งตัวเองรักษาบริสุทธิ์ ไม่ยุให้คนอื่นเขาละเมิดแล้ว เห็นคนอื่น
เขาละเมิดก็อย่าไปยินดีด้วย ถ้าหากว่าศีลของเราบริสุทธิ์ เราตั้งใจจะทำ
สมาธิ สมาธิจะทรงตัวได้ง่าย พอสมาธิทรงตัวแล้วจะเอาฤทธิ์ เอาอภิญญา
หรือว่าต้องการมรรคผลหลุดพ้นไปนิพพาน ก็ทำเอา
ถาม : ทำยากจริง ๆ เลย ข้อ ๔
ตอบ : อาตมาเคยปากไว เจตนาโกหกไม่มี คราวนี้โทษของการละเมิด
ศีลข้อ ๔ ที่เต็ม ๆ ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ คือว่าหลอกลวงคนอื่นเขา แล้วผล
ประโยชน์ตกแก่เรา แต่ว่าพอทำไป ๆ กระทั่งพูดผิดนิดหน่อยก็จะไม่ให้เป็น
ไม่ต้องการให้เป็นอย่างนั้น อาตมาใช้วิธีเอาเหรียญหลวงพ่อมาอมไว้ ใคร
จะเลียนแบบไม่ว่านะ พอขยับปากจะพูดมันติดเหรียญ รู้ว่าเรารักษาศีลอยู่
ต้องคิดก่อนพูดนะ ทำอยู่เป็นเดือนเหมือนกัน กว่าสติจะทัน
ถาม : บางครั้งกับลูกค้า เราไม่โกหกเราก็พังครับ
ตอบ : ถ้าหากว่าอยู่ในลักษณะใช้เพราะจำเป็นต้องโกหกนะ ก็ดูว่า ๒๔
ชม. เราโกหกหรือเปล่า? ช่วงเวลาว่างต้องมี ในเมื่อช่วงเวลาที่ไม่โกหกมี
ให้เรารักษาศีลเป็นเวลา อย่างเช่นว่าตั้งแต่ตื่นขึ้นมาจนไปถึงที่ทำงาน
เราจะรักษาศีลทุกข้อให้บริสุทธิ์ ตั้งแต่กลับจากที่ทำงานจนถึงบ้าน เราจะ
รักษาศีลทุกข้อให้บริสุทธิ์ ให้ตั้งใจอย่างนี้
ถาม : คำว่า "ตั้งใจ" ต้องสมาทานศีลทุกครั้งหรือไม่?
ตอบ : ไม่ต้อง เรารู้อยู่แล้วว่าศีลมีอะไร? การสมาทานศีลเป็นการศึกษา
ว่าศีลมีอะไรบ้าง? ถ้าเราตั้งใจรักษาศีล รู้ว่าศีลมีอะไร? ทำได้เลย ไม่ต้อง
ไปสมาทาน
ถาม : ถ้าอย่างเราจะทำบุญหรือภาวนา แล้วเราจะแผ่ส่วนกุศล คราวนี้
บทแผ่ส่วนกุศลของหลวงพ่อยาวมาก เคยได้ยินมาให้พูดต่อไปเลยว่า
วันหลังถ้ามาทำอีก ให้มาโมทนาได้เลย ไม่ต้องให้เราบอกกล่าวอีก ถ้าพูด
ครั้งเดียวคราวหลังไม่ต้องแผ่เมตตาได้ไหมครับ?
ตอบ : มันก็ง่ายเกินไป ที่ว่าง่ายเกินไปเพราะว่า บางท่านกำลังท่านน้อย
ถ้าหากว่ากำลังท่านน้อย แล้วเราให้ในลักษณะนั้น พวกกำลังมากเอาไป
รับประทานหมด เบียดเขาไม่ถึงหรอก เพราะฉะนั้นทนลำบากหน่อย
ไม่ยากเกินไปหรอก
ถาม : ถ้าเราฟุ้งซ่านอยู่เรื่อย ๆ กลางคืนเราก็จะฝันอยู่เรื่อย ๆ เมื่อคืนฝัน
รู้สึกจะทะลุเข้าขั้นบ้า..! เราจะหยุดมัน พอตื่นขึ้นมา เราจะกำหนดอะไร
ได้บ้างตอนนั้น?
ตอบ : ถ้าหากว่าสติยังไม่สมบูรณ์พอ เราจะบังคับตัวเองไม่ได้ ถ้าสติ
สมบูรณ์พอถึงระดับหนึ่ง หลับอยู่ จะรู้ว่าหลับ ต้องการให้ตื่น จะบอกตัวเอง
ให้ตื่นได้ ถ้ายังทำไม่ถึงขั้นนั้น จะไปบังคับให้ตื่นไม่ได้หรอก ส่วนลักษณะ
ของความฝันก็มีหลายอย่าง เริ่มตั้งแต่ ธาตุวิปริต กินมากไปหน่อย ท้องไส้
ไม่ปรกติ ก็เลยฝันไปเรื่อย อย่างที่สองคือ กรรมนิมิต ความดีความชั่ว
ที่เราทำมา จะแสดงเหตุให้รู้ว่าอะไรจะเกิดขึ้นอย่างที่สามคือ จิตนิวรณ์
อย่างที่คุณเป็น เก็บความฟุ้งซ่านตอนกลางวันไปฝันตอนกลางคืน อย่าง
สุดท้ายเรียก เทพสังหรณ์ เทวดาหรือพรหมท่านสงเคราะห์ให้รู้ว่า
อะไรจะเป็น อะไรจะเกิด อย่างนี้ต้องพยายามสร้างสติให้สมบูรณ์กว่านั้น
หลับกับตื่นให้ความรู้สึกเท่ากัน หลับอยู่ก็เหมือนตื่น ถ้าทำอย่างนั้นได้
อะไรจะเป็น อะไรจะเกิด อย่างนี้ต้องพยายามสร้างสติให้สมบูรณ์กว่านั้น
หลับกับตื่นให้ความรู้สึกเท่ากัน หลับอยู่ก็เหมือนตื่น ถ้าทำอย่างนั้นได้
เราต้องการตื่นเมื่อไหร่จะตื่น แต่ถ้าทำถึงขนาดนั้น ไม่ต้องเสียเวลาหรอก
เพราะไม่ฝัน รู้ตัวตลอด
ถาม : ถ้าเราเป็นประเภทที่ ๓ จิตนิวรณ์มาก ๆ นี่ ทำอย่างไรให้หายฟุ้งซ่าน?
ตอบ : ถ้าอยู่กับลมหายใจเข้า-ออกได้จะไม่ฟุ้ง คราวนี้ของคุณมันไม่ยอม
อยู่ด้วยเลย หาหนังสือธรรมะมาอ่านก็ได้ หรือสวดมนต์ก็ได้ ทำจนกระทั่ง
หลับไป ให้หลับคาการสวดมนต์ไปเลย ยิ่งตื่นมากเท่าไหร่ เออ..ดี จะได้
สวดได้เยอะ ๆ ถ้าคิดอย่างนั้นแป๊บเดียว หลับ..! มันกลัวเราจะดี เป็นอย่าง
นั้นจริง ๆ ลองดูคนไหนนอนไม่หลับ แล้วจะบังคับให้หลับ โอย..ยิ่งตื่น
ใหญ่ แต่ถ้าคิดว่า เออ..ตื่นอยู่ได้แหละดี เราจะทำความดีให้เยอะ ๆ ทำได้
หน่อยเดียว ไปตอนไหนก็ไม่รู้ด้วย
ถาม : อยากให้ช่วยอธิบายคำว่า "รู้สึกเห็น" เป็นอย่างไร?
ตอบ : เหมือนกับว่าเราอยู่ในห้องมืด ๆ แล้วเขาส่งวัตถุชิ้นหนึ่งมาให้เรา
เราเอื้อมมือจับ เราจะรู้สึกว่าวัตถุชิ้นนั้นคืออะไร? ลูบ ๆ คลำ ๆ พักหนึ่ง
ก็พอจะบอกได้ ลักษณะอย่างนี้น่าจะเป็นแว่นตานี่หว่า ก็ตอบไป แว่นตา
ครับ คราวนี้เราต้องซ้อมบ่อย ๆ ซ้อมให้ชำนาญ คลำบ่อย ๆ จับเรื่อย ๆ
พอมาถึงคลำเจอมุมเดียว ก็บอกแว่นตาครับ คล่องตัวแล้วนี่ความรู้สึก
ก็คือว่า จะเกิดคำตอบขึ้นมาในใจของเรา ว่ามันคืออะไร? แต่ว่าคำตอบ
มาลักษณะที่ไม่เห็นอะไรเลย ทั้ง ๆ ที่ตรงหน้ามืดตื๋อ ให้เชื่อคำตอบนั้น
ถาม : แสดงว่าจิตค่อนข้างเป็นสมาธิ?
ตอบ : เริ่มเป็น ยังไม่ทันจะเป็นสมาธิ เขาเรียกว่า อุปจารสมาธิ คือใกล้
จะเป็นสมาธิ ช่วงนั้นความเป็นทิพย์จะเริ่มเกิด แล้วจะเกิดอีกทีตอน
เป็นฌาน ๔ ทรงตัวไปเลย เหมือนกับห้อง ๒ ห้อง ห้องหนึ่งอยู่ข้างล่าง
ห้องหนึ่งอยู่ข้างบน ระหว่างกลางมีบันไดอยู่ ๓ ขั้น ห้องทั้งบนทั้งล่างอยู่ใน
สภาพเหมือนกัน คืออยู่ข้างล่างมองออกไปรอบด้าน เห็นทุกอย่างหมด
อยู่ข้างบนมองไปรอบด้าน เห็นทุกอย่างหมด แต่ถ้าอยู่ตรงกลางบันได
จะไม่เห็นอะไร ติดข้างฝา เพราะฉะนั้นคนฝึกมโนมยิทธิ ถ้าไม่ฝึก
แบบครึ่งกำลัง คือใช้อุปจารสมาธิ ยอมอยู่ห้องข้างล่าง ก็ต้องฟาดให้ได้
ฌาน ๔ เต็มกำลังไปเลย ถ้าได้ฌาน ๔ เต็มกำลัง คือเราไปอยู่ห้องบน
จะเห็นทั้งคู่ แต่ถ้าหากว่าคุณทรงฌานระดับตรงกลาง ๆ ก็คือ ๑,๒,๓
จะไม่เห็นอะไร
เพราะฉะนั้นส่วนใหญ่ที่ทำแล้วไม่ได้ เพราะว่าไม่ยอมทิ้ง
ลมหายใจเข้า-ออก ถึงเวลาภาวนาแล้วเพลิน เกาะลมไปเรื่อย ครูฝึกบอกให้
หยุดภาวนา ไม่ยอมหยุด ถ้าอย่างนั้นคุณกำลังอยู่บนบันได ไปไม่รอด
หรอก ต้องถอยกำลังใจลงมาสู่อารมณ์ปรกติ ทำใจสบาย ๆ เหมือนกับเรา
หลับตาคุยกับครู ไม่ต้องไปนึกถึงลมหายใจเข้า-ออก ถ้าครูเขาบอกว่า
ให้นึกถึงอะไร? ให้นึกถึงอย่างนั้น ท่านบอกให้ขอบารมีพระยกจิตของเรา
ขึ้นสู่จุฬามณี ให้นึกเดี๋ยวนี้เลย ตรงหน้าเราคือจุฬามณี ถ้าบอกให้ไป
สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ให้นึกเดี๋ยวนั้นเลยว่า ตรงหน้าเราคือสวรรค์ชั้น
ดาวดึงส์ แล้วพอท่านถามว่าเห็นอะไร? รู้สึกอย่างไร? ให้ตอบไปตามนั้น
ความรู้สึกจะบอกเอง พอนานเข้า ๆ ความคล่องตัวมี สภาพจิตนิ่ง
ภาพจะเริ่มปรากฏ แล้วก็จะพาเสีย
เพราะส่วนใหญ่ภาพปรากฏ เราก็จะ
ไปเพ่งมันให้ชัด ใช่ไหม? เราต้องไปถึงตรงนั้น เราถึงจะเห็น คราวนี้ภาพ
ปรากฏเราไปเพ่งมัน อย่าลืมการเพ่งต้องใช้สายตา การนึกถึงตา คือนึก
ถึงตัว นึกถึงตัวคือดึงจิตกลับมาที่ตัว ภาพก็หายไป บางคนประสาท
กลับไปเลย เพราะว่าเป็น ๆ หาย ๆ อยู่ตั้งหลาย ๆ ปี แค่เราทำใจสบาย ๆ
ว่าก่อนหน้านี้ แค่ความรู้สึกอย่างเดียวก็ถูกต้องแล้ว ภาพจะมาหรือ
ไม่มา เห็นหรือไม่เห็นเป็นเรื่องของมัน ถ้าทำใจอย่างนี้ได้ ภาพจะอยู่
นิ่งแล้วก็นานด้วย
ถาม : แก้ฟุ้ง?
ตอบ : หมายความว่า ระหว่างภาวนาแล้วไปคิดเรื่องอื่น ถ้าอย่างนั้น
แปลว่า เราหลุดจากลมหายใจเข้า-ออกแล้ว ให้ดึงความรู้สึกทั้งหมดกลับ
มาอยู่กับลมหายใจเข้า-ออกใหม่ "พุท" ไม่ทันจะ "โธ" มันไปแล้วก็ดึง
กลับมาใหม่ ตอนแรก ๆ เอาแค่นับ ๑-๑๐ หายใจเข้า "พุท" หายใจออก
"โธ" นับ ๑ หายใจเข้า "พุท" หายใจออก "โธ" นับ ๒ ถ้าวิ่งไปคิดเรื่อง
อื่นเมื่อไหร่? นับ ๑ ทันที จนกว่าจะได้ พุท-โธ ครบ ๑๐ ครั้งโดยไม่คิด
เรื่องอื่น ลองดูเถอะ..! ครึ่งชั่วโมงไม่ได้กินมันหรอก แค่ ๑-๑๐ นี่แหละ ครึ่ง
ชั่วโมงผ่านไปไม่รู้ตัว พลาดเมื่อไหร่นับ ๑ ใหม่ทันที
ถาม : มีปัญหาปากก็สวดมนต์ แต่ใจคิดอย่างอื่น?
ตอบ : ถ้าอย่างนั้น บางทีเป็นการใช้กำลังเกินที่เราต้องการ เป็นการแบ่ง
จิตเป็นหลาย ๆ ส่วน ทำงานหลายส่วนพร้อมกัน ถ้าอย่างนั้นให้จดจ่ออยู่
ตรงหน้า ดึงความรู้สึกทั้งหมดให้มาอยู่ตรงหน้า ถ้าไม่อยู่กับคำสวดของเรา
ก็ให้อยู่กับลมหายใจเข้า-ออกไปเลย แล้วจะไม่คิดเรื่องอื่น แสดงว่าของเก่า
โยมน่ะเยอะ ถ้าของเก่าไม่เยอะ ทำอย่างนั้นไม่ได้หรอก ลักษณะนั้นจะ
เป็นการเริ่มแยกจิตเป็นหลาย ๆ ส่วน ทำงานหลาย ๆ อย่างพร้อมกัน
เมื่อกี้ที่บอกว่า เขียนหนังสือส่วนเขียนหนังสือ ตอบปัญหาส่วนตอบปัญหา
คือลักษณะนี้ จะรับรู้หลาย ๆ อย่างได้พร้อมกัน
ถาม : อารมณ์อย่างที่บอกเมื่อกี้ เราเคยทำได้ แยกออกมาเป็นหลาย ๆ
ส่วน ตอนหลังเสื่อมลง แล้วเราจะกลับไปได้ไหมคะ?
ตอบ : ทำใหม่ ของที่เคยทำได้ ไม่ยาก เราไปฟื้นมันใหม่ หากว่าถึง
ตรงจุดนั้น ก็ได้อีก เพียงแต่ว่าเราทิ้งมานานจนเรื้อเวที สนิมขึ้นเยอะ
ในระหว่างขัดสนิมเคาะสนิม บางทีท้อ เพราะฉะนั้นห้ามท้อจ้ะ หรือถึง
ท้อได้ก็ห้ามถอย (หัวเราะ)
ถาม : เคยจับลมหายใจได้เกิน ๓ ครั้ง ก็ไปแล้ว
ตอบ : ตั้งต้นนับ ๑ ใหม่ เอาแค่ ๑-๑๐ สองดูสิ ให้รู้ไป ให้เวลา ๑๐ ปี
จะทำได้ไหม?
ถาม : เลยหนีไปจับภาพพระแทน (ไม่ชัด) เอาภาพไปอยู่ที่ไหน?
ตอบ : เอาว่าท่านใหญ่เต็มแผ่นดินแผ่นฟ้า ครอบตัวเราอยู่ก็ได้ ตัวเรา
ไม่มีอะไรเหลืออยู่เลย เหลือแต่เพียงองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ที่สว่างไสวโตเต็มจักรวาลอยู่องค์เดียว เอาใจจดจ่ออยู่กับท่าน ตั้งใจว่านั่น
ไม่มีอะไรเหลืออยู่เลย เหลือแต่เพียงองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ที่สว่างไสวโตเต็มจักรวาลอยู่องค์เดียว เอาใจจดจ่ออยู่กับท่าน ตั้งใจว่านั่น
คือ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าไม่อยู่ที่ไหน นอกจากบน
พระนิพพาน เราเห็นท่าน คือเราอยู่กับท่าน เราอยู่กับท่าน คือเราอยู่บน
พระนิพพาน รักษาอารมณ์นี้ไว้ก็พอ
ถาม : เวลานั่งสมาธิ ทำอย่างไรถึงไม่ง่วง?
ตอบ : มีหลายวิธี อันดับแรก เปลี่ยนอิริยาบถ ถ้านั่งแล้วง่วง ก็เดิน ถ้าเดิน
แล้วง่วง ก็ไปยืนอยู่โน้น ขอบระเบียง เผลอให้หัวทิ่มลงไปเลย แก้แบบ
หลวงปู่ฝั้นก็ได้ หลวงปู่ฝั้นเป็นครูบาอาจารย์องค์แรกที่เป็นครูกรรมฐาน
ของอาตมา ที่เป็นพระไม่ใช่ฆราวาส ฆราวาสคนแรกที่เป็นครูกรรมฐาน
ท่านเป็นครูสอนคณิตศาสตร์ หลวงปู่ฝั้นท่านบอก ท่านภาวนาเมื่อไหร่
ก็โงก ภาวนาเมื่อไหร่ก็ง่วง ท่านก็เลยให้ลูกศิษย์หาปีบมาใบหนึ่ง แล้วท่าน
ไปตั้งไว้ข้างขอบเหวเลย นั่งภาวนาอยู่บนปีบ ตั้งใจว่าถ้ามันโงก ก็ให้หัว
ทิ่มลงเหวตายไปเลย คราวนี้กลัวตาย ตาสว่างไม่ยอมง่วง ท่านบอกภาวนา
สำเร็จก็ตรงนั้นแหละ พระพุทธเจ้าท่านบอกว่า ถ้าหากว่าง่วง ให้เปลี่ยน
อิริยาบถ ถ้าเปลี่ยนอิริยาบถไม่หาย เอาไม้ขนไก่มาปั่นหู ปั่นหูไม่หาย
เอามือลูบเนื้อลูบตัวลูบหน้า ถ้ายังไม่หายอีก หาน้ำมาล้างหน้า ถ้าไม่หาย
ให้ทำกายบริหาร ถ้าไม่หาย ให้ตั้งใจสวดมนต์ดัง ๆ ถ้ายังไม่หายอีก ให้
กำหนดแสงสว่าง นึกถึงว่ามันสว่าง ถ้าหากว่ายังไม่หายอีก แก้อย่างไร
ก็ไม่ได้แล้ว ไปไม่รอดแล้ว ท่านบอกให้นอนไปเลย แสดงว่าร่างกาย
ต้องการพักผ่อนจริง ๆ ถ้าหากว่าเราไปบังคับ จะเครียดมาก เดี๋ยวจะเกิด
อาการที่เรียกว่า กรรมฐานแตก
ถาม : เรานั่งสมาธิ ลืมตาได้หรือไม่ครับ?
ตอบ : ได้ สมาธิลืมตาเก่งกว่านะ เพราะว่าจิตของเราต้องจดจ่ออยู่กับ
ภายใน ถ้าจะทรงตัวจริง ๆ อย่างน้อยต้องเป็นปฐมฌาน ไม่อย่างนั้นเดี๋ยว
จะแวบไปดูนั่น แวบไปดูนี่ เห็นเขาเคลื่อนไหวอะไร ก็ไปสนใจ ถ้าคุณทำได้
แสดงว่ากำลังของคุณอย่างน้อยต้องเป็นปฐมฌานแล้ว
ถาม : (ไม่ชัด)
ตอบ : คุณลืมตาธรรมดาอย่างนี้แหละ แต่คุณนึกว่ามีพระพุทธรูปอีกองค์
หนึ่ง ครอบคุณอยู่อย่างนี้ แบ่งความรู้สึกส่วนหนึ่ง นึกถึงภาพพระองค์
นั้นเสมอ ความรู้สึกส่วนนั้นแค่สัก ๒๐-๓๐ เปอร์เซ็นต์เท่านั้นแหละ
อีกความรู้สึก ๗๐-๘๐ เปอร์เซ็นต์ของเรานั้น ก็ทำงานทำการของเรา
ไปนั่นแหละ ลืมตาทำง่ายดีถึงเวลาต้องการเห็นผี เห็นเทวดา ก็แค่ว่า
ขอให้ภาพพระนี้หายไป ภาพเทวดาจงปรากฏขึ้น เราเห็นภาพพระชัด
แค่ไหน? เราก็เห็นผีเห็นเทวดาชัดแค่นั้น
ถาม : จากปฐมฌาน ให้กลับลงมาเป็นอุปจารสมาธิ ทำอย่างไรคะ?
ตอบ : ต้องลดกำลังลง ถ้าหากว่าต้องการลดอย่างนั้นจริง ๆ ถ้ากำลังสูง
มาก ให้กลับมานึกถึงลมหายใจเข้า-ออก ถ้าหากนึกถึงลมหายใจเข้า-ออก
แล้วยังเป็นลมละเอียดอยู่ ให้หายใจแรง ๆ ก็จะลดลงไปเป็นอุปจารสมาธิ
เอง สมัยอาตมาฝึกอยู่ ใช้วิธีนอนแล้วก็นั่ง นั่งอยู่พอเอนตัวลงก็ ๑,๒,๓...
๖,๗,๘ อะไรอย่างนี้ ถึงเวลาลุกขึ้นก็ ๘,๗,๖...๓,๒,๑ ขึ้น มา นั่ง ๆ นอน ๆ
เป็นไอ้บ้าอยู่คนเดียว คนอื่นเห็นต้องว่าเพี้ยนแน่ ๆ เลย ทำอะไรของมัน?
เดี๋ยวลุก เดี๋ยวนั่ง ความจริงเราซ้อมให้คล่องตัวไว้
ถาม : (ไม่ชัด)
ตอบ : ปล่อยมัน บอกแล้วว่าเต็มที่ทีเดียว แล้วมันจะเลิก ถ้ามัวแต่
ไปสนใจอยู่ คุณผิดตั้งแต่ไปสนใจมันแล้ว การนั่งสมาธิเขาไม่ให้สนใจว่าอะไร
เกิดขึ้นกับกาย ถ้าหากว่าคุณสมาทานกรรมฐาน ใช้คำว่า "ข้าพเจ้าขอ
มอบกายถวายชีวิต ต่อองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า" ใจของเรา
ต้องมุ่งมั่นอยู่ที่เดียว ไม่ใช่อะไรเกิดขึ้นกับร่างกายแล้วไปสนใจมัน ถ้าเกิด
ขึ้นอย่างนั้นแล้วไปสนใจ เขาเรียกว่าขาดตัวอุเบกขา ตัวอุเบกขาจะเป็น
กำลังใหญ่ จะทำให้สมาธิทรงเป็นฌานทุกระดับชั้น ตั้งแต่ปฐมฌานขึ้น
ไป จนถึงฌานที่ ๘ ถ้าไม่มีตัวอุเบกขา จะทรงตัวไม่ได้ คราวนี้ของคุณลง
อุเบกขาไม่ได้ เพราะมัวแต่ไปสนใจกับร่างกายอยู่ สมาธิจะทรงตัวได้น้อย
ห้ามสนใจจ้ะ จะตายก็ให้มันตาย จะพังก็ให้มันพัง จะโยกก็ให้มันโยก
ถาม : แล้วพอระยะหนึ่ง ผมเลิกสนใจ หันมาจับลมหายใจ แต่ลูกแก้วก็ยัง
สว่างอยู่ แล้วตัวก็ตึง?
ตอบ : ก็ให้สว่างไปสิ ให้ตึงต่อไป
ถาม : จุดจบของมัน
ตอบ : จุดจบของมันตรงจุดนั้น เป็นแค่ฌาน ๓ ลักษณะตัวตึงนี่ บางที
เหมือนกับเรากลายเป็นหินไป บางทีเหมือนกับเราโดนมัดแน่นอยู่กับเสา
เราแค่รับรู้เฉย ๆ ว่าตอนนี้เป็นอย่างนั้น เอาใจจดจ่ออยู่กับดวงแก้วของเรา
ต่อไป เสร็จแล้วจะก้าวข้ามไปเป็นฌาน ๔ ถึงตอนนั้นจะสว่างโพลงอย่าง
ที่คุณบอกไม่ถูก สว่างด้วยเย็นด้วย ตอนนั้นจะเหลือความรู้สึกอยู่จุดเดียว
อาจจะอยู่ตรงข้างหน้าของเรา หรืออาจจะอยู่ในอกของเรา หรืออยู่กับ
ดวงแก้วของเรา จะปักนิ่งอยู่ตรงจุดนั้นที่เดียว อะไรเกิดขึ้นรอบข้างตอนนี้
ไม่รับรู้แล้ว ฟ้าฝ่าข้างหูไม่ได้ยิน
เพราะฉะนั้นก่อนที่คุณจะทำ ให้ตั้งใจด้วย
ว่าจะเลิกเมื่อไหร่? ไม่อย่างนั้น บางที ๗ วันนั่งอยู่อย่างนั้น เพราะว่า
ความรู้สึกของเราเหมือนกับว่าแป๊บเดียว ยิ่งสมาธิลึกเท่าไหร่? เวลาผ่าน
ไปเราจะไม่รู้สึก เรารู้สึกว่าแป๊บเดียว ตั้งใจไว้ว่าเราจะเลิกเมื่อไหร่? ถึงเวลา
จิตจะถอนออกมาเอง ถ้าคุณไม่ตั้งใจไว้ก่อน เดี๋ยวได้ของแถมแน่ อาตมา
จะโดนหามไปเผามาแล้ว (หัวเราะ) ค่อย ๆ ทำไปเริ่มดีแล้ว นั่นเป็นฌาน
๓ แล้วถ้ารู้สึกว่าตึง บางทีรู้สึกเหมือนกับชาจากปลายมือปลายเท้า
เข้ามา ๆ แล้วตัวแข็งเป๊กไปเลย หรือไม่ก็รู้สึกตึงเปรี๊ยะเหมือนโดนมัด
ติดอยู่กับหลัก นั่นแหละคืออาการของฌาน ๓ แล้วอย่าไปจับอาการนะ
จะหายใจแรงหายใจเบา
เรื่องของมัน รู้ไว้เฉย ๆ จะได้ยินเสียงเบาลง หรือ
ไม่ได้ยินเสียง รับรู้ไว้เฉย ๆ จะตึงจะแข็งจะชาอย่างไร? รับรู้ไว้เฉย ๆ
อย่าไปเอ๊ะ..! ตอนนี้เป็นอย่างนี้แล้ว เดี๋ยวจะเป็นอย่างนั้น เดี๋ยวต่อไป
จะเป็นอย่างโน้น ถ้าเราไปจับอย่างนั้น จะไม่ก้าวหน้า จะอยู่กับที่อย่างนั้น
รับรู้ไว้เฉย ๆ อย่างเดียว กำหนดรู้เอาไว้ ถ้าจับดวงแก้วก็จับต่อไป แค่นั้น
เองแหละ แล้วเดี๋ยวจะก้าวไปเรื่อย ๆ ถ้าสนใจเมื่อไหร่? เจ๊ง..! อยู่แค่นั้น
แหละ ไปต่อไม่ได้ แล้วถอยอีกต่างหาก
เองแหละ แล้วเดี๋ยวจะก้าวไปเรื่อย ๆ ถ้าสนใจเมื่อไหร่? เจ๊ง..! อยู่แค่นั้น
แหละ ไปต่อไม่ได้ แล้วถอยอีกต่างหาก
|