ถาม :  แล้วถ้าคิดจะปลีกตัว คืออารมณ์มันจะไม่คิดอะไรเลย
      ตอบมันจะตันของมัน เราก็เริ่มภาวนาใหม่ ถ้าเราไม่ภาวนาเดี๋ยวมันจะฟุ้งซ่านเรื่องอื่นต่อไป ๆ เหมือนกับเดินไปชนอะไรไปต่อไม่ได้ แล้วถ้าหากว่ามันไม่เบื่อซะก่อนก็ย้อนกลับมาเริ่มต้นใหม่ได้ เริ่มต้นนับหนึ่ง สองสาม ใหม่ได้ จนกว่ามันจะไม่เอา เราค่อยไปภาวนา
      ถาม :  แล้วตอนที่ (ฟังไม่ชัด - เกี่ยวกับสังขารุเปกขาญาน)
      ตอบ :  ไม่แน่ สังขารุเปกขาญาณจริง ๆ มันไม่ใช่ตันนะปล่อยวางเบาสบาย
      ถาม :  แล้วการที่เราไม่สนใจ ( ฟังไม่ชัด) คิดว่าเขาจะทำอะไรก็เรื่องของเขา
      ตอบ :  นั่นแหละเป็นสังขารุเปกขาญาณ คือทั้งหมดเกิดมามันไม่ได้ผูกตัวติดกัน ต่างคนต่างทำต่างคนต่างตาย เพราะฉะนั้นถ้าไม่เอาดีก็เรื่องของเขา ช่างเขาไป เราก็ทำของเราไป ต่างคนต่างเห็นว่าสิ่งที่ตัวเองทำนั้นดี เขาถึงได้ทำ ในเมื่อเขาเห็นดีอย่างนั้นก็เรื่องของเขา
      ถาม :  การปฎิบัตินี่ไม่จำเป็นต้องให้เราเป็นอย่างที่เขาต้องการ ?
      ตอบ :  ไม่ต้องเลย เขาต้องการให้เราเป็นยังไงก็ตาม มันไม่เหมือนกับที่พระพุทธเจ้าต้องการให้เราเป็นหรอก อันนั้นดูที่ตัว แก้ที่ตัวอัตตนา โจทยัตตานัง กล่าวโทษโจทย์ตัวเองไว้เสมอ มีบางสมัยพอโดนเข้าไปแล้วมันหาไม่เจอจริง ๆ ว่า ดูผิดตรงไหน ไล่ไปไล่มามึงผิดตอนที่เกิดมา เอามันตรงนั้นเลย ง่ายดีมั้ย หาจนกระทั่งที่เรียกว่าละเอียดทุกซอกทุกมุมชนิดที่ว่าเรียกว่าไม่เข้าข้างตัวเองแล้ว หาไม่ได้ว่าตัวเองผิดตรงไหน ก็เลยสรุปว่าผิดตั้งแต่เกิดมาแล้ว อยากทะลึ่งเกิดเอง ก็ต้องเจออย่างนี้แหละ เอามันผิดจนได้ กล่าวโทษตัวเองเอาไว้ อย่าไปโทษคนอื่น
      ถาม :  การที่เราช่วยเหลือเด็กเขาติดยา แต่เราไม่รู้จัก มีคนรู้จักเขาเล่าให้ฟัง เราก็เลยแนะนำให้คนช่วย อยากจะช่วยน่ะคะทีนี้กลัวว่าเขาไม่ได้เป็นอะไรกับเด็กคนนั้น เราก็บอกว่าหน้าที่ของเราคือช่วย เราช่วยด้วยความเมตตา แต่เราไม่มองว่ามันจะประสบความสำเร็จหรือเปล่า ?
      ตอบ :  ก็นั่นน่ะ ต้องทำอย่างนั้นจริง ๆ เพราะว่าการปฎิบัติทุกอย่างมันต้องมีตัวอุเบกขาอยู่ เมตตาคือรัก กรุณาคือสงสาร ในเมื่อรักสงสารช่วยเขาเต็มที่แล้ว ผลมันจะเกิดอย่างไรก็ตามเราต้องยอมรับได้ไอ้ตัวยอมรับได้ ตัวปล่อยวางได้นี่เป็นตัวอุเบกขาในอารมณ์ ถ้าเราไม่เบรคเราจะทุกข์อยู่คนเดียว คนอื่นเขาไม่ทุกข์กับเราด้วยหรอก
      ถาม :  (ฟังไม่ชัด) ความละเอียดมันไม่เหมือนกัน
      ตอบ :  มันก็อยู่ที่ว่ากำลังใจของคนถือมันระดับไหน กำลังใจละเอียดกว่าก็ถือได้ละเอียดกว่า ถ้าละเอียดมากขึ้นจะเป็นกรรมบถ ๑๐ โดยอัตโนมัติ จากที่เคยฆ่าสัตว์กระทั่งทำให้มันลำบากโดยเจตนาก็ไม่ทำ ประเภทที่เคยจ้องลักขโมย ต่อไปกระทั่งของที่เขาไม่อนุญาตวางไว้เราก็ไม่หยิบไม่แตะต้อง มันจะละเอียดขึ้นมันจะกลายเป็นกรรมบถ ๑๐ ไปเอง
      ถาม :  แล้วอย่างทรมาน (ฟังไม่ขัด)
      ตอบ :  ก็ถือกรรมบถ ๑๐ พร่อง แต่ศีลห้าไม่ขาด กรรมบถ ๑๐ มีเรื่องของกำลังใจอยู่เยอะ ศีลเป็นของพระโสดาบัน แต่กรรมบถ ๑๐ เป็นของพระสกิทาคามี พระสกิทาคามีกับโทสะท่านเหลือน้อยเต็มทีแล้ว เพราะฉะนั้นก็เลยงดเว้นได้มากกว่า
      ถาม :  ...........................
      ตอบ :  ได้ ทำไมจะไม่ได้ล่ะ อันดับแรกก็คือควบคุมมัน อยู่ในกาเมสุมิจฉาจาร ก็คือว่าสิ่งที่ผิดไปแล้วจากข้อห้ามของพระพุทธเจ้าเราไม่ทำ ก็เท่ากับว่าตัดไประดับหนึ่งใช่มั้ย พอละเอียดขึ้นมันก็จะกลายเป็นศีลพรหมจรรย์ไปเอง พอกำลังของเราที่เรียกว่าไม่ทำด้วยตัวเอง ไม่ยุให้คนอื่นทำ ไม่ยินดีเมื่อคนอื่นทำ ตัวกำลังของราคะมันจะเหลือน้อยลง พอกำลังสมาธิมันสูงขึ้น มันก็จะกลายเป็นกรรมบถ ๑๐ หรืออารมณ์ของศีล ๘ เลย พอถึงเวลาอารมณ์ของศีล ๘ เลยมันจะถือพรหมจรรย์อัตโนมัติไปเอง ตัดไปเหมือนกัน ทุกอย่างที่พระพุทธเจ้าท่านสอน ท่านสอนให้ตัดได้ทั้งนั้น ยิ่งถ้ากำลังสมาธิทรงตัวมาก ๆ ด้วย
              ถือศีลห้าอย่างเดียวนี่กำลังเท่าพระอรหันต์เลย เท่าตรงที่ว่า รัก โลภ โกรธ หลง มันโดนกดเงียบฉี่ ไม่ได้กระดิกเลย แต่ว่าของพระอรหันต์ของท่านตัดเเล้วตัดเลย ไม่งอกงามใหม่ แต่คนที่ใช้กำลังฌานกดเอาไว้นี่ ถ้าเผลอฌานเคลื่อน ฌานถอยเมื่อไรมันงอกงามใหม่ มันฟัดเราได้ใหม่
      ถาม :  แล้วอารมณ์ใจถ้ามันยังรู้สึกว่าหนักใจกับการถือศีลระหว่างศีล ๕ กับศีล ๘ ?
      ตอบก็เอาอันที่ใจมันยอมรับได้ง่ายกว่า เพราะว่าศีล ๘ ของเรามันก็จำกัดด้วยหน้าที่การงานใช่มั้ย จำเป็นต้องทำงาน จำเป็นต้องอะไรใช้กำลังงานมาก ถ้าเราอดมื้อเย็นบางทีมันก็แย่ อย่างนี้เราก็เลือกเอาอันที่เหมาะสมกับเรา ศีล ๘ เราก็ถือในวาระหรือโอกาสที่มันควรจะมี เช่นว่าวันพระใหญ่หรือว่าวันพระสำคัญทางศาสนา เพราะว่าจะถือมากถือน้อยอานิสงส์มีเหมือนกัน
      ถาม :  อานิสงส์ของการถือศีลมีเท่ากัน เพียงแต่ว่าการปฎิบัติเราต้อง.....
      ตอบ :  ไม่ได้เท่ากัน อานิสงส์ของศีล ๘ เป็นศีลพรหมจรรย์สูงกว่าศีล ๕ มาก แต่เพียงแต่ว่าระยะที่เราถือมันน้อย มันก็เหมือนกับว่าของเล็กแต่มีค่าสูงนะ แล้วถ้าหากว่ามันทรงใจอัตโนมัติ คุณเป็นพระอริยเจ้าแหง ๆ
      ถาม :  ถ้าปฎิบัติโดยพิจารณาถึงความไม่เที่ยง ความไม่แน่นอนระหว่างที่เราทำงาน จะมีความรู้สึกว่าเรานี่ไม่น่าจะไปข้องแวะกับใคร
      ตอบ :  นั่นก็จัดเป็นวิปัสสนาญาณอย่างหนึ่ง ก็จะเป็นพวกมุญจิตุกัมมยตาญาน หาทางจะหนีไปให้พ้น ไม่อยากจะไปยุ่งกับมันอีกแล้ว พออารมณ์ใจมันขึ้นมากไปกว่านั้นแล้ว มันจะเป็นตัวนิพพิทาญาณ จะเบื่อมัน ไอ้ตัวเบื่อนี่ดีนะ ต้องรักษามันให้อยู่กับเราให้ได้ เพราะถ้าหากไม่เบื่อ มันก็อยากเกิดอีก แต่ตอนเบื่อนี่มันจะต้องมีสติว่าเรายังจำเป็นต้องอยู่กับมันอยู่ในเมื่อเราจำเป็นต้องอยู่กับมัน เราก็ดูแลรักษามันให้ดีที่สุดที่เราจะพึงทำได้ แต่เราจะอยู่กับมันแค่ชาตินี้ชาติเดียวเท่านั้น ถ้าพ้นจากชาตินี้ขึ้นชื่อว่าการเกิดมาเพื่อความทุกข์ยากนี้จะไม่มีสำหรับเราอีก มันก็จะกลายเป็นสังขารุเปกขาญาณไป
              ถึงเวลามันก้าวข้ามไปได้เอง ให้ใจมันยอมรับเอง ไปบังคับให้มันรับไม่ได้หรอก อย่างชนิดที่ถามตัวเองว่าอยากเกิดมั้ย ? มันต้องใจบอกว่าไม่อยากจริง ๆ ไม่ใช่รู้ว่าต้องตอบว่าไม่อยาก ไอ้รู้ว่าต้องตอบว่าไม่อยากมันเหมือนกับว่ารู้ข้อสอบอย่างนี้ต้องตอบอย่างนี้ แต่จริง ๆ แล้วไม่แน่หรอกว่า ข้อสอบน่ะมันมีคำตอบอยู่ แต่ทำยังไงให้ได้คำตอบนั้นต่างหากล่ะ มันสำคัญตรงนั้น เพราะฉะนั้นที่ใจมันบอกจริง ๆ ว่าไม่อยากเกิดน่ะ ก็คือมันรู้แล้วว่ามันต้องทำยังไงถึงจะไม่อยากเกิดได้ แต่คนที่ไม่ได้ตอบจากกำลังใจของตัวเองจริง ๆ นี่รู้ว่าต้องตอบอย่างนั้น แต่มันไม่รู้ว่าต้องทำยังไง ถึงจะได้ยังงั้น หรือว่าถึงรู้ก็ยังทำไม่ได้ ทำไม่ถึง
      ถาม :  บางครั้งมันก็รู้สึกว่าลำบากมาก (ฟังไม่ชัด)
      ตอบ :  ให้มันได้ก็ยังดี มันจะบางครั้งก็ขอให้มันได้ แล้วต่อไปถ้ามันได้สักครั้งหนึ่งมันจะไม่ยาก มันยากครั้งแรก ถ้าครั้งแรกของเราทำได้ ครั้งต่อ ๆ ไปมันเรื่องง่าย ส่วนใหญ่มันอยู่ในลักษณะนั้น ลักษณะที่ว่าวางได้เป็นที ๆ ไป เดี๋ยวพอเผลอหน่อยเดียวมันพลิกกลับ ที่วางได้ก็ล้ม แล้วเริ่มต้นนับหนึ่งใหม่พอเริ่มรู้สึกว่าวางได้อารมณ์ใจทรงตัวก็เริ่มลุยต่อไปเลย แล้วอย่างที่บอกไปหลายทีว่ากำลังใจของเรายิ่งฟุ้งซ่านมากเท่าไหร่ คือเรายิ่งใกล้ความดีมากเท่านั้น ตัวนี้นี่กล้ายืนยันเลย เราใกล้ความดีมากเท่าไหร่มารเขารู้เราจะพ้นมือประเภทเร่งขัดขวางสุดฝีมือเลย มันก็จะให้เรารัก โลภ โกรธ หลง ให้มากที่สุดเท่าที่มากได้ ให้เป๋จากจุดหมายนั้น ฟุ้งซ่านมากให้รู้ว่ายิ่งใกล้ความดีมาก อันนี้สำหรับนักปฎิบัติอย่างเดียวนะ แต่ถ้าเป็นทั่ว ๆ ไปนั้นฟุ้งซ่านมากก็คือใกล้กิเลสมาก
      ถาม :  (ฟังไม่ชัด) คือว่าความรู้สึกว่าอยากจะถวายท่านอย่างนี้
      ตอบ :  แล้วแต่เรา เทวดา พรหม เขาไม่เกี่ยงกัน แต่ถ้าหากว่าเราคิดว่าจะไปจัดลำดับท่าน อย่างนั้นเราก็เริ่มจากพรหมก่อนแล้วมาเทวดานี่มันเป็นลำดับของมนุษย์เขา แบบเดียวกับบนพระนิพพาน บนพระนิพพานนี่จริง ๆ แล้ว ทุกท่านบริสุทธิ์เหมือนกันหมด มันต่างกับตรงบุญตรงบารมีเท่านั้น
              ถ้าเราขึ้นไปนี่ เราจะเห็นว่าของท่านเอง ท่านจะแยกอยู่อย่างเป็นระเบียบเรียบร้อยใช่มั้ย พระพุทธเจ้าอยู่หน้าพระอรหันต์ที่เป็นสาวกอยู่หลัง ๆ ไป แถวหน้าสุดนี้จะเป็นวิมานพระพุทธเจ้า แถวหลังยาวไปเป็นพระอรหันต์ที่เป็นสาวก ลักษณะของการจัดความเรียบร้อย นี่คือว่าเป็นสิ่งที่เราปรารถนาที่จะเห็นอย่างนั้นท่านก็ทำให้ดูอย่างนั้น อย่างเช่นว่าไปที่จุฬามณี ก็จะมีพระ มีพรหม มีเทวดา พระอรหันต์ท่านก็แยกออกเป็นเหล่า ๆ พระอรหันต์สุขวิปัสสโก พระอรหันต์วิชาสาม พระอรหันต์อภิญญาหก พระอรหันต์ปฎิสัมพิทาญาณ แล้วยังมีแยกอีก
              อย่างเช่นว่าปฎิสัมภิทาญาณระดับปกติสาวก ปฎิสัมภิทาญาณระดับมหาสาวก ปฎิสัมภิทาญาณของอัครสาวกอย่างนี้ มีการแยกเป็นระเบียบเรียบร้อยเหมือนกัน คือพวกระเบียบนี่ มันเป็นประเภทว่าคนเราปรารถนาจะได้เห็นอย่างนั้น เอ้า เอาไปเลย ท่านรู้อยู่แล้วนี่ว่าเราต้องการอะไร พอเห็นแล้วก็ชื่นอกชื่นใจ แต่จริงแล้วของท่านเอง ขึ้นไปข้างบนแล้วก็บริสุทธิ์เหมือน ๆ กันหมดเพียงแต่บุญวารมีที่สร้างสมมามากน้อยต่างกันเท่านั้น
      ถาม :  พอเวลาไม่เจอ หนูจะถามอะไรเยอะแยะ พอมาเจอจริงนี่นึกไม่ออก
      ตอบ :  (หัวเราะ) คราวหน้าจดไว้
      ถาม :  ขอบารมีช่วยสงเคราะห์ให้จบด้วย
      ตอบ :  (หัวเราะ) ขอท่านปู่พระอินทร์ง่ายกว่า ขึ้นต้นก็ สหัสเนตโต เทวินโท ทิพจังขุง วิโสทายิ ไว้ก่อน
      ถาม :  ก็ขอเหมือนกัน แต่ทำข้อสอบแล้วใจเต้นจะขาดใจน่ะ
      ตอบ :  นั่นล่ะ ลักษณะที่กำลังของท่านคุมลงมาจะเป็นอย่างนั้นใจมันเต้นตึ๊ก ๆ แล้วมือจะเขียนชนิดที่ว่าเราบังคับยาก มันสั่นไปหมดถ้าหากว่าของเรา เราเคยชินแล้วจะไม่ค่อยรู้สึก แต่ถ้าไม่เคยชินแล้วใหม่ ๆ จะเป็นอย่างนั้นทุกรายแหละ
      ถาม :  แต่หนูเป็น คือหนูคุมตัวเองไม่อยู่ ทำไมเราเครียดขนาดนั้น ?
      ตอบ :  ไม่ใช่เครียดหรอกเป็นกำลังของท่านที่ช่วยลงมา แต่คราวนี้ของเรานี่มันไม่สามารถปรับให้กลืนกับตัวเราได้ ปรับให้กลืนไม่ได้มันก็เหมือนยังกับไฟช๊อตยังงั้นน่ะ อาการยังงั้นชัวร์เลยว่าท่านสงเคราะห์นั่นแหละใหม่ ๆ ก็เป็น ต้อง เฮ้ย .... ช้า ๆ หน่อย เขียนไวเดี๋ยวกรรมการอ่านไม่ออกเขาให้ศูนย์น่ะโว้ย เราต้องเตือนตัวเองอย่างนี้ แล้วเสร็จแล้วไม่ต้องไปฝืนหรอก อยากเขียนอะไรเขียนไปเลย มันจะนอกทุ่งนอกท่านอกความรู้เขียนไปเหอะ ถึงเวลามันดีเอง
      ถาม :  จะตอบ มีความรู้สึกตัวเองตอบแย่มาก ตอบอะไรก็ไม่รู้
      ตอบ :  นั่นแหละ ที่แย่ ๆ นั่นแหละ เดี๋ยวคอยดู อาตมาเองเคยเขียนหนังสือขายมา สมัยประเภทหน้าละ ๕๐ บาท หน้าหนึ่ง ๗๐ บาท อยากได้เยอะก็เขียนเยอะ สมัยนั้นก็มีทั้งเรื่องสั้น มีทั้งกลอนประเภทนั้น เขียนแล้วบังเอิญว่าเราเขียนเรื่องที่เราอยากอ่าน ไปอ่าน ๆ แล้วมันไม่มีเรื่องประเภทนี้เราก็เขียนซะ ปรากฏว่าคนก็คงมีความรู้สึกเหมือนกันว่าอยากอ่านเรื่องประเภทนี้
      ถาม :  เรื่องเกี่ยวกับอิทธิฤทธิ์อะไรพวกนี้เหรอคะ ?
      ตอบ :  ไม่ใช่หรอกคะ ประเภทที่เพ้อ ๆ ฝัน ๆ เกี่ยวกับวัยรุ่นอะไร ก็มียังงั้นแหละ พอเราเคยเขียนเรารู้สึกว่าสำนวนดีมันเป็นยังไง พอถึงเวลาท่านให้เขียนอย่างนี้ ๆ มันไม่ดีแฮะ
              เอาอย่างนี้ดีกว่า พอแก้ปุ๊บนะความรู้สึกโดนตัดขาดไปเลย พอความรู้สึกโดนตัดขาดเขียนต่อไม่ได้เนื้อหามันไม่ต่อเนื่องกัน ก็เลยต้องตั้งใจกราบขอขมาพระ ขอบารมีท่านช่วยสงเคราะห์ใหม่ พอความรู้สึกมาใหม่ คราวนี้ยอมตามท่าน พอตามท่านไป ๆ ไอ้เรามันคนช่างสังเกต เขียนจบเรียบร้อยอ่านทวน ไอ้ตอนอ่านทวนนั้นถึงได้รู้ว่าสำนวนพื้น ๆ ธรรมดา ๆ นั่นน่ะ จริง ๆ แล้วต้นกลางปลายมันผสมกลมกลืนกันแนบเนียนที่สุดเลย มันลักษณะว่าคนมีความรู้แต่ไม่อวดรู้ แต่ไอ้สำนวนของเรานั่นมันอวดความรู้ มันจะทำให้คนเขาหมั่นไส้เอา แต่ของท่านนี่ลักษณะที่คุณมีความรู้แล้วคุณไม่อวดรู้ ประเภทที่เรียกว่าปานกลาง ไปกับเขาได้ทุกสถานการณ์ ออกมามันกลายเป็นดีไป
      ถาม :  แล้วมีเหตุการณ์อย่างนี้มั้ยคะว่า ตอนที่เราทำน่ะ สมมุติว่าเรายกตัวอย่างไปแปดเรื่อง ข้อหนึ่งถึงข้อแปด แต่เรามีความรู้สึกว่าไม่ใช่นะ เหมือนกับมีความรู้สึกว่าขีดให้หมดเลย ขีดทิ้งให้หมดทั้งแปดข้อ แล้วยกตัวอย่างแปดข้อใหม่ อย่างนี้ยังอยู่ในสภาวะที่ท่านยังอยู่มั้ย ?
      ตอบ :  ถ้าทำอย่างนั้นบ่อย ๆ แล้วจะเสีย เราต้องเชื่อความรู้สึกแรกยังไงยังงั้นไปเลยเพราะว่าบางทีอาจมีประเภทที่แทรกเข้ามาให้รู้สึกว่านี้ดีกว่า เสร็จแล้วที่เอามานั้นมันก็ดีกว่า แต่ถ้าเราไปอ่านแล้วมันจะไม่ต่อเนื่องกัน โด่มาอยู่ท่อนเดียว หัวกับท้ายอาจเป็นเรื่องเดียวกันก็ได้ ตรงกลางที่เรายกมามันจะโด่อยู่อย่างนั้น เหมือนกับตัดมาแปะไว้ มันจะไม่กลืนกับเขา ลักษณะนี้เราก็อ่านดู เออ ! เข้าท่าดี แต่ความจริงถ้าเราอ่านตั้งแต่ต้นมาจะรู้สึกว่าจะสะดุด เพราะงั้นต้องเชื่อความรู้สึกแรกไว้
      ถาม :  ยังคุยอยู่กับหลินเลยว่า เดือนหนึ่งจะตายให้ได้ เดือนหนึ่งเครียดทีหนึ่ง
      ตอบ :  ถ้าหากว่าเครียดลักษณะนั้นแล้วก็ควรจะสบายใจได้เลย (หัวเราะ)
      ถาม :  ได้มาฟังแล้วรู้สึกว่าใช่เลย
      ตอบ :  นั่นแหละคือการที่ท่านสงเคราะห์ พอถึงเวลาลงมานี่ถ้าหากว่าของเราเองไม่สามารถปรับกระแสให้กลืนกันได้ ใหม่ ๆ เหมือนกัน มันเหมือนหัวใจจะหลุดออกจากปาก ใจจะเต้นถี่ขึ้น ๆ ลักษณะของมโนมยิทธิที่ออกเต็มกำลังจะออกลักษณะนั้นด้วย มันเหมือนหัวใจมันเต้นเร็วขึ้น ๆ อะไรต่อมิอะไรข้างในมันหมุนควบเข้า ๆ แล้วมันหลุดดึ๋งไปเลย
      ถาม :  แต่ตอนทุกครั้งที่หนูไปฝึกเต็มกำลังนะคะ หนูออกไป หนูรู้สึกว่าหนูออกไป แต่ไม่ได้แรงเหมือนคนอื่น หนูไปเหมือนตอนฝึกครึ่งกำลังอย่างนี้คะ เหมือนขึ้นไปบนนิพพานคะ ?
      ตอบ :  นั่นนะถูกเลย คนที่ได้ครึ่งกำลังไปฝึกเต็มกำลังมันแทบจะไม่ดิ้นกับใคร เพราะจิตมันเรียบแล้ว จิตมันเรียบแล้วเคยชินกับสภาพแล้ว ส่วนไอ้ที่ฝึกใหม่จะดิ้นกันมาก
      ถาม :  บางคนอย่างนี้คะ พึบ ๆๆ
      ตอบ :  อย่างนั้นแสดงว่าเขายังอยู่ในช่วงที่จิตกำลังหยาบมากอยู่พอจิตมันหยาบมาก อาการแสดงออกของร่างกายมันจะรุนแรงมาก