ถาม:  .......................
      ตอบ :  เรื่องของกิเลส ราคะ โลภะ โทสะ โมหะ ปัจจุบันนี้เราใช้สมาธิกดอยู่ ในเมื่อเราใช้สมาธิกดอยู่ มันยังไม่ตายจริง เหมือนกับเราเอาหินทับหญ้าไว้ พอถึงเวลาหินขยับเมื่อไร มันรีบงามใหญ่เลย มันกลัวตาย เรื่องของโทสะของเราก็อยู่ในลักษณะที่เรากดมันอยู่ พอมีโอกาสปะทุขึ้นมา ก็แปลว่าเรากดมันไม่ไหวแล้ว เลยรุนแรงเหมือนกับว่าแรงกว่าปกติเสียด้วยซ้ำไป ถ้าภาษาชาวบ้านเรียกว่า "เก็บกด" คราวนี้เรากดมันยังไม่ตายจริง สำคัญอยู่ตรงที่ว่า เราอย่าเผลอให้มันกำเริบได้ โทสะประเภทง่ายที่สุดคือตาเห็น หูได้ยิน ระวังตากับหูให้ดี ถ้าเห็นแล้วก็ เออ....สักแต่ว่าเห็น เมิน ๆ บ้าง ได้ยินก็ช่างหัวมันอะไรอย่างนี้ ช่างโคตรพ่อโคตรแม่มัน (หัวเราะ) เดี๋ยวช่างจนได้ไปเอง
      ถาม :  อย่างนี้จะทำอย่างไรคะ ?
      ตอบ :  กดมันต่อไป อย่าเผลอให้มันหลุด ถ้าเผลอให้มันหลุดมันจะตีเราพัง ถ้าพังครั้งหนึ่งหลายวัน เรามีประสบการณ์พังบ่อย ๆ ดีอยู่อย่างว่ามันรู้ทาง แต่ถามว่าเข็ดไหม ถ้าหากว่าเข็ดก็จะระวังไม่ให้พังอีก แต่อย่าหวังเลยนะ เผลอเมื่อไรก็พังเมื่อนั้น (หัวเราะ) เอาจนกว่าไม่ต้องระวัง
      ถาม :  ถ้ากดมันไว้มันจะแรง จะอย่างไรคะ ?
      ตอบ :  ไม่ต้องไปกลัวมันหรอก เป็นปกติของมัน เพียงแต่ว่าหลังจากที่เรากดมันไว้แล้ว เราก็พิจารณาด้วย ถ้าไม่พิจารณาจิตไม่ปลดมันออก เหมือนอัดลมใส่ลูกโป่งไปเรื่อย เดี๋ยวลูกโป่งก็แตก พิจารณาไปด้วยสิ ให้เห็นว่าธรรมดาของเขาเป็นอย่างนั้น ธรรมดาของผู้มากด้วยกิเลสเป็นไปด้วยรัก โลภ โกรธ หลง ย่อมทำในสิ่งที่ไม่พอตาไม่พอใจเราเป็นปกติอยู่แล้ว เขาเองเขาไม่รู้ว่าสิ่งที่เขาทำนั้นเป็นทุกข์เป็นโทษกับตัวเองขนาดไหน เป็นทุกข์เป็นโทษกับคนอื่นคือตัวเราขนาดไหน เขายังเล่นกับไฟอยู่โดยคิดว่าไฟนั้นเป็นสิ่งที่ดี ทั้ง ๆ ที่ไฟเผาเขาอยู่ตลอดเวลา คนประเภทนั้นน่าโกรธหรือน่าสงสาร พอเราแยกแยะออกเห็น เออ...แท้จริงน่าสงสารมากกว่า มีโอกาสเราจะช่วยเขาเสียด้วยซ้ำไป จิตจะได้คลายตรงนั้นออก จะไม่เก็บตรงนั้นไว้ ไม่อย่างนั้นถ้าเก็บไปนาน ๆ แหม...พวกช่างเก็บนี่สมบัติเยอะ เดี๋ยวล้นโอ่งล้นไหระเบิดตูมตามมา คนเดือดร้อนทั่วไป อย่าไปช่างเก็บ คิดให้เป็นพิจารณาให้เป็น จะได้ไม่ต้องเก็บมันไว้ ก็จะปล่อยไปเอง "ธรรมดา" คำเดียวคลำให้ติดเลย ถ้าเห็นธรรมดาของมัน แปลว่าเราเห็นธรรมไปเยอะแล้ว ธรรมดาของเด็กต้องซน เราอภัยให้เด็กได้ใช่ไหม ขังมันไว้ รู้ตัวแล้วกดมันเอาไว้ ขังเสือไว้ในกรง ให้มันกัดเราคนเดียว อย่าให้มันไปกัดคนอื่น หมายความว่าข้างในร้อนขนาดไหนก็ตาม ดิ้นรนขนาดไหนก็ตาม ให้ข้างนอกนิ่งไว้ ยิ้มเข้าไว้ ถ้าหากว่ารู้ได้น่ะดี รู้ได้แสดงว่าสติสัมปัญญะของเรายังดีอยู่ เพราะฉะนั้น...กดมันไว้ น้ำขุ่นอยู่ใน น้ำใสอยู่นอก ยิ้มเข้าไว้ ถ้าไม่ไหวก็เดินหนีไปเลย อย่าอยู่ตรงนั้น พอสงบลงแล้วค่อยมาใหม่ โกรธได้สบายมาก เพียงแต่โกรธแล้วอย่าผูกโกรธ โกรธแล้ว ๆ กัน หันหลังให้ก็ลืม
              สมัยเป็นฆราวาส โห...มันมากลเย จะโดนเขาฆ่าตายเมื่อไรก็ไม่รู้ ชกเขาคว่ำไปกับมือ หันหลังให้เราลืมไปแล้ว แต่พระน้องชายท่านแสงนั่นน่ะ กี่ปีก็จำได้ ถึงเวลาก็สะกิด ๆ พี่ ๆ ไอ้คนนั้นน่ะที่พี่ต่อยมันสลบ บอกเหรอ กูลืมไปตั้งนานแล้ว ไม่ได้จำเลย ถ้าเราเจอหน้าเขายังยิ้มแล้วก็ทักทายเขาเป็นปกติ ไอ้นั่นเลยกลัวขี้เยี่ยวราดไปเลยว่าเราจะไปไม้ไหน แต่จริง ๆ เราจำมันไม่ได้ ไม่ได้เก็บมันไว้ในสมองเลยก็ถึงได้บอกว่า เราจะโกรธน่ะ โกรธได้ ถึงเวลาอาตมาก็อัดเขาสลบบคามือได้ แต่ไม่ได้จำ ทำแล้ว ๆ กัน ไอ้ตัวที่เราไปจดจำอยู่เป็นตัวพยาบาท ลึกเข้าไปอีกระดับหนึ่ง ไม่ใช่โทสะธรรมดา พยาบาทนี่หนักวก่าโทสะ ฝังรากลึกจำนาน เพราะฉะนั้น...โกรธไปเถอะ อาละวาดให้ฟ้าถล่มดินทลายก็ได้ แต่พอเลิกอาละวาดแล้วก็ลืม พระโสดาบันต้องเป็นอย่างนั้น คือโกรธได้ แต่ต้องไม่ผูกโกรธ
      ถาม :  ถ้าจำได้ล่ะคะ ?
      ตอบ :  ให้อภัยเขาสิ เห็นเขาเป็นเพื่อนร่วมทุกข์เกิดแก่เจ็บตายเป็นปกติ ทุกสิ่งทุกอย่างที่ทำคือสิ่งที่เราทำมาก่อนแล้ว
      ถาม :  คิดไม่ได้อย่างนั้น
      ตอบ :  นั่นแหละ ถึงได้บอกว่า พยายามคิดให้เป็นอย่างไร คิดให้เป็นว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่เขาทำ คือสิ่งที่เราเคยทำ เราเคยน่าเกลียดน่าชังขนาดนั้นมาแล้ว ตอนนี้ที่เขาทำคือกระจกที่ส่องให้เห็นเงาที่ไม่ดีของเราในสมัยก่อน ในเมื่อเราได้ก้าวข้ามตรงจุดนั้นมาแล้ว เขากำลังก้าวตามรอยเรามา เขาเป็นผู้ตามรอยของเราจริง ๆ ก็คือทายาทของเรา ในเมื่อเขาเป็นทายาทของเรา ก็เหมือนกับลูกกับหลานนั่นแหละ ลูกหลานทำผิดทำชั่วบรรพบุรุษเคยทำมาก่อน ควรจะโกรธลูกโกรธหลานไหม ตัวเองทำแล้วคนอื่นเขาเอาอย่าง คราวนี้ตัวที่จำก็คือ มันฝังอยู่ในใจของเรา แต่ตัวที่สอนให้คิดก็คือปลดมันออก ให้เห็นเขาเป็นเพื่อนร่วมทุกข์เกิดแก่เจ็บตาย เราจะโกรธเขาหรือไม่โกรธเขา เขาก็ทุกข์พออยู่แล้ว แล้วเราทำไมต้องโหมไฟใส่เข้าไปเพิ่มอีก นอกจากเผาเขาแล้ว มันเผาตัวเราด้วย ไฟราคะ โลภะ โทสะ โมหะ มันเผาอยู่ตลอดอยู่แล้ว เราไปเร่งฟืนเร่งไฟใส่น้ำมันไปอีกทำไม รังแต่จะพาให้ทุกข์ยากเดือดร้อนกันทั้งสองฝ่ายยิ่ง ๆ ขึ้นไปอีก เพราะฉะนั้น...ในเมื่อเขาเป็นทายาทของเรา เขาเดินตามรอยของเรา บุคคลที่เป็นทายาทรับมรดกจากเราแท้ ๆ ก็ลูกเราหลานเรานั่นแหละ จะไปโกรธมันทำไม เราก้าวพ้นมาได้แล้วเราถึงเห็น ถ้าเราก้าวไม่พ้นเราไม่เห็น ในเมื่อเราเห็นเราก้าวพ้นมาแล้ว เขายังก้าวไม่พ้น ก็แปลว่าจริง ๆ เขาน่าสงสารน่าห่วงมากกว่า ถ้าเป็นไปได้เราอยากให้เขาก้าวพ้นจุดนั้นมาอยู่ดีมีสุขเหมือนกับเรา ถ้าจิตประกอบด้วยหวังดีอย่างนี้ โทสะลดลงเยอะแล้ว
      ถาม :  ถ้าจำแล้วพิจารณาว่า ถ้าเราทำอย่างนี้ไม่ดี จะเกิดไม่ดีกับเรา แต่ถ้าเราไม่จำเลย ก็มีโอกาสทำอีกค่ะ
      ตอบ :  นั่นแหละ ให้จำลักษณะนั้นแหละ จำแบบเข็ด จำแบบกลัว ไม่ใช่จำแบบอาฆาต ถึงเวลากูจะเอาคืน จำแบบรู้เข็ดรู้กลัว รู้ว่าความชั่วเป็นอย่างไร แล้วเราก็จะไม่ทำอย่างนั้น จะไม่ไปแตะต้อง เหมือนกับเรา รู้ว่าไฟมันร้อน เราก็ไม่ยื่นมือให้มันไหม้เรา ใช้ได้จ้ะ แต่ถ้าไม่จำเลยล่ะดี ลืมไปเลย (หัวเราะ) ถึงเวลา แหม...ตีหน้าซื่อมาเชียว ไม่รู้จริง ๆ อาตมาเองไม่ใช่อย่างนั้นหรอก แต่บังเอิญไม่ค่อยจะจำ นิสัยไม่อาฆาตใคร
      ถาม :  .........................
      ตอบ :  บางครั้งถ้าเรารู้สึกว่าภาวนาแล้วเป็นสมาธิแนบแน่นได้เร็วให้ใช้อันนั้น จะทรงตัวได้เร็วมากเลย เคยลองดูคำภาวนาบางอย่างกว่าจะทรงตัวก็นาน บางอย่างทรงตัวเร็ว แล้วคำภาวนาบางอย่างภาวนาแล้วความทรงตัวใกล้เคียงกัน หมายความว่าเข้าถึงสมาธิได้เร็วคล้ายกัน แต่บางอย่างแน่นกว่าหนักกว่า ก็ให้เอาอันที่แน่นกว่าหนักกว่า คือเป็นการประกันความเสี่ยง อย่างน้อย ๆ สมาธิแน่น ๆ พอกดกิเลสได้บ้าง
              อย่างสมัยที่หลวงพ่อให้ภาวนา "สัมปจิตฉามิ" กับ "โสตัตตะภิญญา" อย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งจะส่งผลให้ใช้อานุภาพของกสิณ ๑๐ ได้ ที่ลองทำดู โอ้โฮ...โสตัตตะภิญญา กดเราตัวเกือบจะบี้ รู้สึกว่าแน่นขนาดนั้นน่ะ เหมือนกับพลังงานภายนอกบีบเข้ามาทุกทิศทุกทาง แน่นจนกระทั่งรู้สึกตัวจะแบน แต่ว่าเรื่องของสัมปจิตฉามิเบากว่าเยอะ ของเราเลยแทนจะเอาของง่าย ก็เล่นของยากเลย หนักดี ชอบอะไรมัน ๆ (หัวเราะ) ฉะนั้น...อันไหนที่ทำให้สมาธิตั้งมั่นได้เร็ว หนักแน่นกว่าให้ทำอันนั้น
      ถาม :  .........................
      ตอบ :  เรื่องของการพนันเป็นลาภเกิดจากเราเคยทำบุญโดยไม่ได้ตั้งเจตนาไว้ คือไม่ได้คิดจะทำมาก่อน พอไปเห็นเขาทำก็ร่วมกับเขาเลย คราวนี้ตัวเราทำจะได้มากหรือได้น้อยขึ้นอยู่กับเราเหมือนกัน ถ้าเราทำมากหรือทำน้อย คราวนี้เล่นหวยอยากให้ถูกอย่าไปทุ่มเท ให้เราสังเกตว่าเราเคยถูกสักเท่าไร ถ้าเล่นถูกสัก ๒๐ บาทแล้วถูก อย่าเล่นเกิน ๒๐ บาท ต่อไปก็เล่นน้อย ๆ สิ เขาเราไปทุ่มเลย ต่อไปเราเล่นตัวสัก ๑๐-๒๐ บาท หรือไม่ก็ซื้อหวยรัฐบาลอย่างนี้ โอกาสถูกก็จะมี ถ้าโชคใหญ่มีก็จะถูกรางวัลใหญ่ ถ้าหากว่าลาภน้อยอยู่ ก็จะถูกเลขท้ายอย่างนี้ ซื้อส่งเดชไปเถอะ ไม่ต้องอะไรหอรก แล้วเราซื้อในลักษณะของคนมีสติ คือว่าซื้อสักเดือนละคู่สองคู่นะ เรามีสตางค์เสียอยู่แล้ว คู่สองคู่อย่างเก่งก็ไม่มากใช่ไหม คราวนี้เราซื้อลักษณะนั้นถ้าหากบุญเก่ามีอยู่ ทำไว้มากก็จะถูกรางวัลใหญ่ ถ้าทำไว้น้อยก็จะถูกเลขท้าย มีโอกาสที่จะลุ้นเล่นสนุก ๆ เอามันในชีวิตก็ได้ แต่ว่าต้องมีสติ ไม่ใช่ไปทุ่มเทกัน ชนิดซื้อกันยกล๊อตรางวัลใหญ่ชุดหนึ่ง ๖๐ ล้านอะไรอย่างนี้ ตาย...! ดูนิสัยเราในปัจจุบัน ก็รู้ว่าในอดีตเราจะทำเยอะหรือทำน้อย
              เพราะฉะนั้น...นิสัยในปัจจุบันของเรา เรารู้ว่าในอดีตเราทำไว้น้อย ก็อย่าไปทุ่มเทไปกับมัน หมดเสียเปล่า ๆ เพราะว่าถ้าเกินบุญจะไม่ได้หรอก เกินบุญนี่ต่อให้ได้หวยจากพระที่ท่านบอกตรง ๆ มันก็เลื่อนไปงวดอื่น ท่านบอกตรง ๆ มันยังวิ่งไปงวดอื่นเลย เขาเจอมากันเยอะต่อเยอะแล้ว เพราะว่าเล่นเกินกำลังบุญตัวเองก็เลยไม่ถูก
      ถาม :  .........................
      ตอบ :  ไม่ได้ตั้งเจตนาไว้ก่อน พวกที่ตั้งเจตนาไว้ก่อนแล้วทำนี่จะรวยไปเลย ไม่ต้องไปเสียเวลารอหวย เพราะฉะนั้น...ในอดีตถ้าเคยเจตนาเอาไว้เต็ม ๆ เลยว่าสังฆทานนี่สบายไปเลย ถ้าชาตินี้ดูได้ว่าอดีตเป็นอย่างไร ถ้าชาตินี้ยังไม่ค่อยเอาไหน แสดงว่าอดีตก็ไม่ค่อยได้ทำไว้หรอก
      ถาม :  หลวงปู่ทวดปีไหนครับ ?
      ตอบ :  อยุธยาสมัยพระเจ้าทรงธรรม คงจะประมาณก่อนกรุงแตกพักใหญ่
      ถาม :  ครั้งแรกหรือครับ ?
      ตอบ :  ครั้งที่สอง
      ถาม :  ไม่ค่อยนาน ผมยังนึกว่าทำไมถึงได้จดบันทึกกันมาแล้ว จริง ๆ ถ้าตามประวัติศาสตร์ ผมเพิ่งเห็นมีแต่หลวงปู่ทวดองค์เดียวเองที่มีชื่อเสียงตามมาจนถึงสมัยปัจจุบัน องค์อื่นไม่ค่อยเห็นมี มีก็รุ่นปัจจุบันเท่านั้นเอง
      ตอบ :  องค์ที่มีชื่อเสียงใช่ไหม ประเภทเรียกว่าประวัติท่านไม่ชัดเจน อย่างสมเด็จพระวันรัตน์ วัดป่าแก้วอย่างนี้ มีบันทึกอยู่ว่าเป็นพระสังฆราช เป็นพระที่สมเด็จพระนเรศวรท่านเกรงใจ อย่างหลวงพ่อธรรมโชติอย่างนี้ก็สูญหายไปเฉย ๆ ไม่รู้เป็นตายร้ายดีอย่างไร หลวงพ่อธรรมโชติสมัยบางระจัน และคราวนี้มาเอาให้ชัด ๆ จริง ๆ ก็สมเด็จพระสังฆราชสุก สมัยรัชกาลที่ ๑ เขาเรียก "พระสังฆราชไก่เถื่อน" แล้วก็มาหลวงพ่อโต วัดระฆัง ประวัติเริ่มชัดเจน ถ้าจะเอาประเภทเก๋าจริง ๆ ก็หลวงปู่ทวดนั่นแหละ
      ถาม :  ท่านเหยียบน้ำทะเลจืดจริงหรือครับ ?
      ตอบ :  จริง ๆ เพราะถ้าไม่จืด ก็เป็นอันว่าเขาโยนท่านลงทะเลแน่ คือว่าตอนนั้นทางปักษ์ใต้ของเราเขาเรียกเมืองลังกา "ลังกาสุกะ" คราวนี้ว่าท่านเองพอท่านเรียนจนกระทั่งทางด้านนี้ไม่มีเรียนแล้ว ท่านก็ตั้งใจจะไปเรียนที่อยุธยา ก็อาศัยสำเภาพ่อค้าเขามาจากใต้ เดินทางอาศัยสำเภาเขามา ปรากฏว่าดันไปเจอพายุ หลงทางเสบียงหมด น้ำหมด ก็เลยว่าต้องเป็นหลวงตาองค์นี้แน่เลยที่ทำให้เกิดอย่างนี้ ประเภทเรียกว่าจะโยนท่านลงทะเลแล้ว ท่านเองท่านก็ไม่ว่าอะไร ท่านก็นั่งเอาเท้าแช่น้ำทะเลอธิษฐานเอา พอคนอื่นไปโทษท่าน ท่านก็บอกว่า "ลองตักน้ำตรงนี้ดูสิ" เขามองลงไปก็เห็นว่าน้ำมันเป็นวงผิดปกติ ก็ลองตักน้ำขึ้นมากิน เออ...มันจืดนี่ ก็เลยช่วยกันตักขึ้นมาตุนกันอุตลุดเลย
      ถาม :  ...................................
      ตอบ :  วันนี้นับเป็นโอกาสดี ญาติโยมทั้งหลายได้ถวายสังฆทานมีพระพุทธรูปจำนวนมากและไทยธรรมทั้งหลาย โดยเฉพาะพระพุทธรูปสมเด็จองค์ปฐมปางออกนิโรธสมาบัติ ซึ่งถือว่าเป็นครั้งแรกในโลกที่มีคนสร้างขึ้น และขอให้ทุกคนตั้งใจว่า "อานิสงส์ที่เราได้ทำในครั้งนี้ มีความปรารถนาอะไรให้อธิษฐานตามอัธยาศัยจ้ะ"
      ถาม :  สมัยก่อนการสร้างพระพุทธรูปทำได้ยาก เทคโนโลยีและเครื่องไม้เครื่องมือไม่เหมือนสมัยนี้ คนที่จะทำได้ต้องฐานะดีจริง ๆ มีอำนาจวาสนาเป็นเจ้าพระยามหากษัตริย์ถึงจะทำกันได้ สมัยของเรา เรามีโอกาส
              การสร้างพระพุทธรูปอานิสงส์มหาศาล โดยเฉพาะในส่วนว่า ถ้าปรารถนาพระนิพพาน การบูชาพระพุทธเจ้าจะเข้าพระนิพพานได้ง่าย โดยเฉพาะถ้าตั้งความปรารถนาในพุทธบูชาไว้ เกิดกี่ชาติอย่างไร ก็ไม่พ้นจากเขตบวรพระพุทธศาสนา
      ตอบ :  ....................................
      ถาม :  คนเราจะเกิดเป็นคนก็แสนยาก โดยวิสัยแล้วจะไหลลงที่ต่ำเป็นปกติ โอกาสจะเป็นคนยากมากเลยนะ ส่วนใหญ่ก็ลงนรกเป็นเปรต เป็นอสุรกาย เป็นสัตว์เดรัจฉาน กว่าจะพ้นมากได้ไม่รู้นับเวลาตั้งเท่าไร เกิดเป็นคนแล้วจะได้พบพระพุทธศาสนาก็แสนยาก ได้พบพระพุทธศาสนาแล้ว จะได้ฟังธรรมก็แสนยาก ได้ฟังธรรมแล้วจะเลื่อมใสก็แสนยาก เลื่อมใสแล้วคิดจะบวชก็แสนยาก คิดจะบวชแล้วจะมีวัตถุสมบัติที่สมบูรณ์ก็ยาก อย่างน้อยต้องเป็นชายมีอายุ ๒๐ ปีขึ้นไป มีร่างกายสมบูรณ์บริบูรณ์ อวัยวะไม่บกพร่องอย่างนี้ กว่าจะถึง ๒๐ ปี คุณมีโอกาสตายตั้งกี่ครั้งก็ไม่รู้ รอดมาจนได้ สรุปแล้วยากขนาดไหนกว่าจะได้บวช
              ฉะนั้น...มีโอกาสแล้วเราก็ตั้งใจให้ดี ให้เป็นบุญเป็นกุศล นอกจากตัวเราจะได้แล้ว พ่อแม่ญาติพี่น้องทั้งหมดก็ได้ด้วย ตัวคนบวชเองถ้าไม่เคยทำบุญอื่นเลย เอาอานิสงส์การบวชล้วน ๆ อย่างเดียว ถ้าเกิดเป็นเทวดาจะอยู่ได้ ๖๐ กัป อยู่กันลืมไปเลย ถ้าสมมุติไปอยู่ชั้นที่เขามีอายุ ๒๐๐ ปีทิพย์อย่างนี้ พอครบปุ๊บเราจุติใหม่เกิดใหม่ จุติใหม่เกิดใหม่ อยู่นั่นจนลืมเลย ๖๐ กัป อยู่จนลืมว่าเขาตายกันอย่างไร ถ้าหากว่าเป็นพ่อเป็นแม่ได้ ๓๐ กัป เป็นเจ้าภาพร่วมบวชได้ ๑๕ กัป เป็นคนช่วยงานได้ ๘ กัป ของเราเองเป็นเจ้าภาพปีหนึ่งสัก ๑๐ องค์ ได้มากกว่าคนบวชอีก หนึ่งองค์ได้ ๑๕ ถ้า ๑๐ องค์ได้ ๑๕๐ กัปแล้ว คนบวชเองได้แค่ ๖๐ กัปเอง สู้เราไม่ได้หรอก
              เพราะฉะนั้น...ผู้หญิงไม่ต้องน้อยใจว่าบวชไม่ได้ มีโอกาสอานิสงส์เราได้เยอะกว่าอีก มีลูกชายเราบวชลูกชาย ไม่มีลูกชายเราเป็นเจ้าภาพบวชคนอื่นเขาง่ายที่สุด อานิสงส์ของการบวชไม่ได้จำกัดที่เวลา สำคัญตรงการปฏิบัติ เวลาน้อยแต่ปฏิบัติดี ก็เหมือนกับเพชรเม็ดเล็กก็ราคาสูง เวลาเยอะแต่ปฏิบัติไม่ดี ปฏิบัติชั่วก็เหมือนกับขี้ยิ่งกองใหญ่ก็ยิ่งเหม็นมาก เพราะฉะนั้น...ของเรานี่อานิสงส์คือผลบุญจะได้ทันทีที่พิธีบวชเสร็จ คู่สวดเขาประกาศ "อุปสัมปันโน สังเฆนะ" บัดนี้ได้บวชเป็นสงฆ์แล้วนะ ตอนนั้นบุญทุกอย่างได้พร้อมแล้ว สึกตอนนั้นก็ได้ ประเภทบวชปุ๊บสึกปั๊บเลย แล้วหลังจากนั้นอยู่ที่เราแล้ว ถ้าอยู่ต่อแล้วปฏิบัติดีก็มากขึ้น ถ้าอยู่ต่อแล้วปฏิบัติชั่วก็ลบไปเรื่อย อยู่จนกระทั่งขาดทุนย่อยยับปัจจุบันมีเยอะ เพราะเขาไม่รู้ว่าบวชแล้วยากแค่ไหน การกระทำทุกอย่างของเราในสมัยเป็นฆราวาส สมมติว่าฆ่าสัตว์ ฆราวาสฆ่าสัตว์สมมติว่าปลาวันละตัว ๆ มีอายุยืน ๑๐๐ ปี ฆ่าไปทุกวัน ลงอเวจีมหานรก แต่ถ้าเป็นพระฆ่าตัวเดียวลงไปที่เดียวกันเลย เพราะฉะนั้น...โทษของความเป็นพระคูณด้วยแสน แต่ในขณะเดียวกันบุญในขณะที่เป็นพระก็คูณด้วยแสน อยู่ที่เราเลือกว่าเราจะทำดีหรือทำชั่ว กว่าจะเข้าไปถึงก็ต้องรู้แล้วว่าดีชั่วเป็นอย่างไร ถ้ายังเลือกในทางที่ไม่ดีอีก แปลว่าเราเลือกทางลงต่ำเอง โอกาสรอดยากมาก
              สมัยที่ฝึกมโนมยิทธิใหม่ ๆ ประมาณ ๒๗-๒๘ ปีที่แล้วโน่น พอเห็นแล้วสยองเลย ในนรกบรรดานักบวชที่ลงไป แน่นอย่างกับเปิดกล่องไม้ขีดแล้วเห็นหัวไม้ขีด เยอะขนาดนั้น สรุปแล้วบวชไป ๑๐๐ ลงไปเก้าสิบเก้าครึ่ง เหลืออีกครึ่งองค์รอดไปได้อย่างไรก็ไม่รู้ เพราะว่าส่วนใหญ่บวชเข้าไปโดยที่ไม่รู้ว่าต้องทำอย่างไร อุปัชฌาย์อาจารย์ไม่สอน ทำตามใจตัวเอง ปัจจุบันนี้ยิ่งเยอะหนักเข้าไปใหญ่ เลยไม่กล้าบวช แม่ขอให้บวชตั้งแต่อายุครบ ๒๐ ผลัดไปปีแล้วปีเล่า ไม่ยอมบวช ผลัดมาเจ็ดแปดปีจนกระทั่งหลวงพ่อถาม "บวชให้พ่อได้ไหม ?" ท่านต้องการพระบวชแก้บน ยังอุตส่าห์ถามหลวงพ่อว่า "จะเอากี่วันครับ ?" หลวงพ่อท่านบอกว่า "บวชแก้บนเขาไม่เอานานหรอก เอาแค่ ๗ วันก็พอ" "ขออนุญาตคิดดูก่อนครับ" ปกติของหลวงพ่อนี่ ได้ก็คือได้ ไม่ได้ก็คือไม่ได้ ต้องบอกตรงไปเลย ถ้าขืนประเภทคิดดูก่อนนี่ โดนไม้แหง ๆ แต่วันนั้นท่านใจเย็น ท่านบอก "เออ ไม่เป็นไร เดี๋ยวรอพ่อกลับจากนิวซีแลนด์ก่อนก็ได้" พอท่านกลับจากนิวซีแลนด์มา เราก็ตัดสินใจ เออ...อยู่มาจนป่านนี้แล้ว อายุก็จะ ๓๐ ปีอยู่รอมร่อแล้ว หลวงพ่อขอให้บวชแค่ ๗ วัน
              สมัยก่อนศีล ๒๒๗ ข้อครบ ๆ พระท่านยังไปนิพพานกันเยอะแยะ สมัยนี้ศีลต่าง ๆ เราได้กำไรตั้งเจ็ดสิบแปดสิบข้อ อย่างศีลพระที่จะต้องปฏิบัติเกี่ยวกับนางภิกษุณีอย่างนี้ ศีลพระเกี่ยวกับการสร้างสิ่งของเครื่องใช้สำหรับตัวเอง ไม่มีแล้ว เพราะสมัยนี้อะไร ๆ โยมก็ถวาย ไม่เหมือนสมัยก่อนหายาก ในเมื่อเรามีกำไรเยอะขนาดนี้ ถ้าจะลงนรกก็ให้ลงไปเถอะ ๗ วันอยู่ไม่ได้ให้รู้ไป ว่าแล้วก็อยู่ซะปีที่ ๑๘ แล้วจ้ะ ตั้งใจบวชแค่ ๗ วันจริง ๆ บังเอิญช่วง ๗ วันมีอะไรต่อมิอะไร ในลักษณะที่เรียกว่า ทำให้เรามีกำลังใจมั่นใจว่าปฏิบัติแล้ว ถ้าทำดีต้องได้ดีแน่ ๆ เลยอยู่มาเรื่อย ๆ มีเรื่องทั้งครูบาอาจารย์ที่ไม่มีตัวตน ท่านมาแสดงอะไรต่อมิอะไรให้ดู ทำให้เรารู้ว่าอารมณ์ความเป็นพระอริยเจ้าจริง ๆ เป็นอย่างไร เลยขอท่านเอาไว้บอกว่า "ขอได้ไหมครับ ถ้าทำให้ผมรู้ได้นี่ ผมตั้งใจจะบวชเอาพรรษา" ท่านถามว่า "แกจะเอาสักเท่าไร กี่วันดี ?" "ในเมื่อจะบวชเอาพรรษาก็สัก ๓ เดือนเลยเป็นอย่างไรครับ" ท่านบอกว่า "ถ้าแกต้องการอย่างนั้นก็ได้" พอท่านรับปากให้ เรารู้สึกว่าเราเป็นพระอรหันต์ไปเยอะ อารมณ์ใจทุกอย่างรู้รอบสมบูรณ์พร้อมจริง ๆ ถึงได้มั่นใจพระอริยเจ้าท่านรู้ลึกรู้ซึ้งจริง ๆ รู้ทุกอย่าง รู้เหตุของการเกิดกิเลสสารพัดสารเพ แล้วท่านก็ดับเหตุนั้นทันทุกอย่าง พอท่านมองเห็นท่านจะตัดมันลง จะไม่มีการนึกคิดปรุงแต่งต่อ ตอนนั้นจะหลับจะตื่นจะยืนจะนั่ง มีสติรู้ตลอดเลย มั่นใจว่าถ้าเราปฏิบัติถึงตรงจุดนี้คือพระอริยเจ้าแน่ ๆ พอวันที่เก้าสิบเอ็ด กลายเป็นหมาเหมือนเดิม อารมณ์ที่ดี ๆ หายเงียบไปเลย ท่านบอกว่า ๓ เดือนก็ ๓ เดือนถ้วน ๆ จริง ๆ เก้าสิบวันเต็ม ๆ พอวันที่เก้าสิบเอ็ดหายเงียบไปเลย
              คราวนี้พอเจอเข้าแล้วเหมือนกับคนเคยกินอาหารรสนี้แล้วจำได้ อย่างไรเราจะตะเกียกตะกายทำอาหารรสนี้ให้ได้ ประเภทชอบใจซะแล้วนี่ ก็ตั้งหน้าตั้งตาทำมาเรื่อย คราวนี้ยิ่งทำก็ยิ่งรู้สึกว่าตัวเองโง่ไปเรื่อย ๆ กิเลสมันเก่ง มันหลอกเราอยู่เรื่อย ต้องคอยแก้ไขไปเรื่อย ๆ เลยมัวสนุกไปกับมัน สนุกไปสนุกมารู้สึกว่าแป๊บเดียว เผลอหน่อยเดียวแก่ไปตาม ๆ กัน ตอนบวชอายุ ๒๘ ปี นี่ปีที่ ๑๘ จะแก่ตายชักแล้ว (หัวเราะ) คนไปวัดยังบอกว่าเราไม่แก่ ไปเชื่อมัน
      ตอบ :  ............................................
      ถาม :  คณะพรสวรรค์ตายไปพระนิพพานกันหลายคนแล้ว ตอนที่เขาทำการทรงกระดานอยู่ เขามีพระอริยเจ้าเป็นหัวหน้าทีมอยู่ ถ้าพระอริยเจ้าอยู่ที่ไหน พวกผีแทรกไม่ได้ อย่างพวกเราถ้าไปเล่นก็พร้อมจะเจอผีได้ทุกเวลา จริง ๆ คือที่เรียกผีถ้วยแก้วนั่นแหละ แต่คราวนี้เนื่องจากว่าท่านที่มาสงเคราะห์น่ะ ส่วนใหญ่จะเป็นพระ เป็นเทวดา เป็นพรหม ท่านเก็เลยเรียกว่า "ทรงกระดาน" แทน เพราะฉะนั้น...ถ้าจะให้ได้อย่างท่านต้องหาพระอริยเจ้ามาเป็นหัวหน้าทีม ผีจะได้ไม่แทรก วิธีเชิญทุกอย่างเหมือนกันนั่นแหละ เพียงแต่ว่าตอนที่ท่านมา เนื่องจากพระอริยเจ้าอยู่ในเขตนั้น เทวดาท่านต้องมารักษาเป็นปกติ ผีเล็กผีน้อยแทรกไม่ได้ ท่านออกมาเราจะเป็นว่าเป็นธรรมะแท้ทั้งนั้นเลย คราวนี้ถ้าขืนให้ทรงบ่อย ๆ เดี๋ยวจะเพี้ยน เพราะว่าหัวหน้าทีที่แข็ง ๆ น่ะไปกันหมดแล้ว
      ตอบ :  .................................
      ถาม :  ได้ แต่คราวนี้เรื่องของพระ เรื่องของเทวดา เขาถือมารยาท ถ้าหากว่าผีมาก่อน ท่านก็ไม่ยุ่ง คราวนี้ตอนเชิญเกิดมาตั้งท่ารออยู่ มาผลุบเดียวเข้ามาเลยก็เรียบร้อย จะกลายเป็นผีอ้างนามผู้ยิ่งใหญ่ที่ไหนก็ไม่รู้ ไอ้พวกนี้ชอบอ้างของสูงเป็นเรื่องปกติ
      ตอบ :  ปัจจุบันทำไมเข้าถึงเน้นเรื่องการทำบุญเยอะครับ ? คือพระพุทธเจ้าบอกว่า "นั่งสมาธิจะได้ผลดีกว่าทำทาน" ใช่ไหมครับ ? การปฏิบัติตามที่พระพุทธเจ้าสอน ทำไมเขาไม่ให้นั่งสมาธิครับ
      ถาม :  มีเหตุผลอยู่ ๒ อย่างด้วยกัน อย่างแรกคือ กำลังใจคนที่รักการปฏิบัติจริง ๆ มีน้อย สอนไปก็ไม่ได้ผล เลยต้องสอนขั้นต้นคือ การให้ทาน แต่จริง ๆ แอล้วถึงจะมีหรือไม่มีก็ตาม พระพุทธเจ้าท่านไม่ได้เน้นตรงนั้น ท่านเน้นคุณภาพไม่ได้เน้นปริมาณ แม้แต่รู้เรื่องคนเดียวก็ต้องสอน เลยกลายเป็นว่าสาเหตุประการที่สองเสียส่วนใหญ๋ อย่างที่สองคือ เจตนาแอบแฝงของคนสอน เจตนาแอบแฝงคืออยากได้ลาภผลเยอะ ๆ สอนให้คนทำบุญหัวทิ่มหัวตำ ตัวเองจะได้รับเยอะ ๆ จะได้ดูดทรัพย์ได้ถนัดหน่อย เป็นอย่างนั้นจริง ๆ เพราะฉะนั้น...ได้ ๒ สาเหตุด้วยกัน